สีมา -sima

ประวัติวัดต่างๆ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

อาคารต่างๆในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงขอแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้

กลุ่มพระอุโบสถ กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง หอพระคันธารราษฎร์ และ วัด

กลุ่มฐานไพที กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่นๆเช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบอื่นๆ เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

พระอุโบสถ


ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม ๘ ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ ในการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ใช้เวลา ๓ ปี สำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ต่อมา เมื่อประมาณได้เกิดเพลิงไหม้บุษบกทรงพระแก้วมรกตซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมขึ้นใหม่ให้ทันฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปลายรัชกาล

หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ

ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ ๓ และ ๔ ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน

พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง ๘ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง ๗ ศอก กว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง ๒ แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด"

ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น ทำจากหินหยกสีเขียวเข้มทึบแสง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก ๔๓ ซม. สูง ๕๕ ซม.

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา

พระสัมพุทธพรรณี รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๓ ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง ๔๙ ซม. สูงถึงพระรัศมี ๖๗.๕ ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต

ข้อแนะนำในการเที่ยวที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

  • แต่งกายให้สุภาพ ห้ามสวมเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น กางเกงสามส่วน
  • ไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับภาพจิตกรรมได้
  • ภายในอาคารอื่นทั้งหมดโดยเฉพาะพระอุโบสถ ห้ามถ่ายภาพอย่างเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ และยึดสื่อบันทึก

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น ทำจากหินหยกสีเขียวเข้มทึบแสง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก ๔๓ ซม. สูง ๕๕ ซม.

พระพุทธรูปปางสมาธิ
ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา
พระสัมพุทธพรรณี รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๓ ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง ๔๙ ซม. สูงถึงพระรัศมี ๖๗.๕ ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
หนังสืออ้างอิง : นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
(เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๕

ข้อแนะนำในการเที่ยวที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

  • แต่งกายให้สุภาพ ห้ามสวมเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น กางเกงสามส่วน
  • ไม่ควรใช้แฟลชในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับภาพจิตกรรมได้
  • ภายในอาคารอื่นทั้งหมดโดยเฉพาะพระอุโบสถ ห้ามถ่ายภาพอย่างเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ และยึดสื่อบันทึก

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗

เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป


พระอุโบสถ

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน


ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน

เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร

เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ

บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป

หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี


หนังสืออ้างอิง : นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
(เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๕






พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร



วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระ

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป พระอุโบสถ

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว


พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)


ปูชนียวัตถุที่สำคัญ
๑. พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานภายในอุโบสถหรือวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะเชียงแสน
๒. พระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐานในอาคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย
๓. พระพุทธไสยาสน์ พระประธานในวิหารพระพุทธไสยาสน์ ศิลปะเชียงแสน
๔. พระพุทธรูปสิงห์หนึ่งเชียงแสนพระปรานในวิหารลายคำ
๕. พระพุทธรูปบัวเข็ม พระประธานในมณฑปประสาทพม่าหรือพระยาธาตุ เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ศิลปะพม่า
๖. พระแก้วมรกตปางสมาธิ จำลองจากวัดพระธาตุลำปางหลวง ประดิษฐานในอาคารสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช
๗. พระแก้วมรกต ปางมารวิชัย ประดิษฐานในอาคารสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งได้มาจากวัด สุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
๘. พระประธานในอุโบสถวัดสุชาดาราม ปางมารวิชัย
๙. พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลมหาบพิตร สถิตเขลางค์นครพระประธานในวิหารจามเทวีหรือ วิหารพระเจ้าทองทิพย์ หล่อเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระครูสิริกิจจาภรณ์ (เสริม กตกิจฺโจ) น.ธ.เอก,ป.ธ.๔,ศษ.บ., พธ.ม., (พ.ศ.๒๕๕๑ ปัจจุบัน)
ประเพณีไหว้พระบรมธาตุดอนเต้า ในวันเพ็ญเดือน เหนือ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะมีงานเทศกาลประจำปีของวัด ได้แก่ งานนมัสการพระบรมธาตุดอนเต้าโดยจัดงาน วัน คืน ในงานจัดให้มีการเทศน์การทำบุญทางพระพุทธศาสนาและมรหรสพสมโภช


วัดพระแก้วดอนเต้่าสุชาดาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวัง ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงล้านนา มีมณฑปยอด ปราสาทแบบพม่าที่ประณีตงดงาม มีพระวิหารทรงล้านนาที่มีรูปทรงงดงาม มีลวดลายแกะสลักไม้ที่บานหน้าต่าง ข้างในมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าทางศิลปะ และประวัติศาสตร์ มีพระอุโบสถทรงล้านนาขนาดกะทัดรัด มีสัดส่วนสวยงาม โดยแต่เดิมวัดพระแก้วดอนเต้ากับวัดสุชาดารามเป็นคนละวัด แต่ตั้งอยู่ติดกัน ต่อมาภายหลังได้มีประกาศของกระทรวงศึกษาธิการให้ทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกัน จึงได้มีการรื้อกำแพงกั้นเขตวัดออก วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2530

วัดพระแก้วดอนเต้า มีประวัติความเป็นมามากกว่า 500 ปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้จัดขบวนช้างไปรับพระแก้วมรกตจากเชียงราย เพื่อจะอัญเชิญมาประดิษฐานยังนครเชียงใหม่ ครั้นถึงทางแยกเมืองนครลำปาง ช้างก็ตื่นวิ่งเข้าไปในนครลำปาง ในที่สุดพระเจ้าสามฝั่งแกนต้องยินยอมให้พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าเป็นเวลาถึง 32 ปี ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาซึ่งเคยมาครองเมืองเชียงใหม่ได้กลับไปครองเมืองหลวง พระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไป และได้นำไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะเมื่อทรงเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีหัวเมืองลาวจนถึงเวียงจันทน์ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงเทพ ฯ เป็นเมืองหลวง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนาศาสดาราม จนตราบเท่าทุกวันนี้

วัดสุชาดาราม ตามประวัติกล่าวว่า คือบริเวณที่ตั้งบ้านของนางสุชาดา อุบาสิกาผู้หนึ่งของวัดพระแก้วดอนเต้า ที่ได้นำแตงโมลูกหนึ่งไปถวายพระเถระที่วัดพระแก้วดอนเต้า ครั้นผ่าแตงโมลูกนั้นออก ก็พบว่ามีมรกตอยู่ข้างใน พระเถระรูปนั้นจึงจ้างช่างให้นำมรกตนั้นไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป เรียกว่า พระแก้วดอนเต้า ต่อมาได้มีผู้ไปฟ้องเจ้าเมืองลำปางในขณะนั้นว่า พระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางจึงให้จับนางสุชาดาไปประหารชีวิต ส่วนพระเถระองค์นั้นทราบข่าวก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปหนีไป โดยได้นำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่ตั้งบ้านของนางสุชาดาก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาในคุณงามความดีของนาง บริจาคเงินสร้างวัดขึ้นชื่อวัดสุชาดาราม



หนังสืออ้างอิง : นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
(เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๕


พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ (กลาง) , พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน (ซ้าย) ,พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน (ขวา) และพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย (หน้า)

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ[8]

เขตพระอุโบสถ

เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่

พระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)

พระพุทธปาลิไลย ประดิษฐานที่พระวิหารทิศเหนือ

พระวิหารทิศ

ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ ได้แก่

พระเจดีย์

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้

พระเจดีย์ราย

พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์[ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองที่งามที่สุดของยุครัตนโกสินทร์[

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป้นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์

พระมหาสถูป

พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกันดังนี้

  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป
  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป
  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป
  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป

ประติมากรรมอื่น ๆ

นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น

รูปปั้นฤๅษีดัดตน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น

ยักษ์วัดโพธิ์

ยักษ์วัดโพธิ์บริเวณซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา


ประวัติวัด

articleด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม กระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า โพธิคุณตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

อุโบสถ (อ่านว่า อุโบสด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่งสีมาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการะบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง

  • สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์
  • การเข้าจำ คือการรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า รักษาอุโบสถ และรักษาอุโบสถศีล
  • วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัส วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถกัน เรียกว่า วันอุโบสถ
  • วันที่พระสงค์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่าวันอุโบสถ
  • การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ

ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมาก่อน

อุโบสถ ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ก่อฉาบ ปิดด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาทั้งหลัง ทรงไทยประยุกต์กับลวดลายแบบขอมโบราณ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน) สร้างโดยพระครูอุทัยธรรมโสภิต (จันทร์ลี อุทคฺโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมมาชัญญาวาส (ธรรมยุต) ร่วมกับคณะญาติโยมเขตมีนบุรี คลองสามวา คันนายาว บางกะปิ บางเขน ศิษยานุศิษย์อดีตเจ้าอาวาส

เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาตคญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นประธานเททองหล่อพระประธาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘

สมเด็จภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี สยามาบรมราชกุมารี ในรัชกาลที่ ๖ เสด็จทรงประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘

การจัดโต๊ะหมู่บูชาพระรูปแบบต่างๆ


การจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมานาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาแต่สมัยใด ปัจจุบันในพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือราษฎร์พิธี จะเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคลก็ตาม นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งสิ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมเครื่องบูชาตามคตินิยมของชาวพุทธ เท่าที่ปรากฏในสมัยพุทธกาล พุทธบริษัทมีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง นิยมนิมนต์พระสงฆ์มีองคพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในงานกุศลนั้นๆ เพื่อต้องการให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ พร้อมบริบูรณ์ ศาสนพิธีต่างๆ ทางพุทธศาสนาจึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นนิมิตรแทนองค์พระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีเพื่อให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว แต่การอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานนั้นควรทำสถานที่ให้เหมาะสม ในชั้นแรกสันนิษฐานว่า อาจใช้โต๊ะธรรมดาเป็นที่ประดิษฐานต่อมาได้มี วิวัฒนาการเป็นโต๊ะหมู่บูชาขึ้นดังปรากฏในปัจจุบันนี้มีหลายรูปแบบนับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย

การจุดธูป ๓ ดอก เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการคือ
๑. บูชาพระปัญญาคุณ
๒. บูชาพระวิสุทธิคุณ
๓. บูชาพระมหากรุณาธิคุณ

การจุดเทียน ๒ เล่ม เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย เล่มขวาของพระพุทธรูป หรือด้านซ้ายของผู้จุดเป็นเทียน

พระธรรม เล่มซ้ายของพระพุทธรูปหรือด้านขวาของผู้จุดเป็นเทียนพระวินัย

ปัจจุบัน การตั้งโต๊ะหมู่บูชานิยมตั้งใน ๒ กรณี คือ
๑ในพิธีทางพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น
๒ ๒ ในพิธีถวายพระพร หรือตั้งรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมราชินีนาถ


การจัดโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของราชการ

การจัดโต๊ะหมู่บูชาในพิธีบางพิธีของทางราชการ เช่น การประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้นที่มิใช่พิธีเกี่ยวกับนานาชาติและการประชุมปกติของคณะกรรมการ นิยมตั้งธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบันคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีหลักในการจัดคือ ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลาง ตั้งธงชาติไว้ทางด้านขวาของโต๊ะหมู่ และตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่ ดังภาพ


ในพิธีส่วนตัว เช่นทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญอัฐิ หรือทำบุญใดๆ เฉพาะตน ในกรณีที่มีพื้นที่ในการใช้อย่างจำกัดและแคบเกินไป หรือหาโต๊ะหมู่ตามกำหนด ไม่ได้ และมีทุนในการจัดอย่างจำกัด อาจดัดแปลงเครื่องบูชาและรูปแบบการจัดก็ได้ โดยยึดหลักในการจัดคือ

๑พระพุทธรูปจะต้องอยู่สูงกว่าเครื่องบูชาทุกชนิด
๒ เครื่องบูชาอย่างน้อยที่สุด คือ แจกันดอกไม้ ๑ คู่ เชิงเทียน ๑ คู่ และกระถางธูป ๑ กระถาง (พานดอกไม้จะมีหรือไม่มีก็ได้)


เครื่องบูชา ที่ใช้ในการตั้งโต๊ะหมู่บูชา ก็คือ พานพุ่ม หรือ พานดอกไม้ แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียน โดยมีปริมาณที่มากน้อยแตกต่างกันไป ตามจำนวนของโต๊ะหมู่ที่ใช้ สำหรับโต๊ะหมู่ก็มีจำนวนโต๊ะต่อหมู่ที่แตกต่างกัน คือ หมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๖ หมู่ ๙ โดยปัจจุบัน นิยมใช้เฉพาะ หมู่ ๕ หมู่ ๗ หมู่ ๙ โดยหมู่ ๕ นิยมใช้ในพื้นที่จำกัด ส่วนหมู่ ๗ และหมู่ ๙ มักจะใช้ในพิธีที่สำคัญและมีพื้นที่กว้างพอสมควร


การจัดเครื่องบูชา บนโต๊ะหมู่ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้จัดจึงมักทำด้วยความปราณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และเพื่อแสดงถึงศิลปะในการจัดเครื่องบูชา นอกจากนี้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้จัดโต๊ะหมู่บูชาควรทราบหลักเกณฑ์และวิธีจัดโต๊ะบูชาแบบต่างๆ ไว้ เพื่อจะได้จัดอย่างถูกต้อง โดยมีหลักเกณฑ์การจัดคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่โต๊ะหมู่บูชา ส่วนปริมาณอาจแตกต่างกัน

โต๊ะบูชาชุดหมู่ ๔ สมัยรัตนโกสินทร์หมู่ ๔
โต๊ะหมู่ ๔ มี ๒ ประเภท คือแบบธรรมดา และแบบโต๊ะซัด ( โต๊ะปีกหรือโต๊ะเคียง) โต๊ะซัดเป็นคำเรียกโต๊ะหมู่ ๔ ที่จัดตั้งโดยทแยงมุมโต๊ะออก ตั้งเครื่องบูชาและพระพุทธรูปทแยงตามมุมโต๊ะ หรือตั้งบริเวณมุมของห้องโดยทแยงกับมุมห้องด้านตรงข้าม หากนำไปตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่ใหญ่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง จะเรียกว่า โต๊ะปีก หรือ โต๊ะเคียง ซึ่งหมายถึง โต๊ะปีกของโต๊ะหมู่ใหญ่ หรือ โต๊ะที่ตั้งเคียงคู่กับโต๊ะหมู่ ๗ โต๊ะหมู่ ๔ ประกอบด้วยเครื่องบูชา ดังนี้ กระถางธูป ๑ กระถาง เชิงเทียน ๑ คู่ (แบบธรรมดาใช้ ๓ คู่ ) พานดอกไม้ ๒ พาน แจกัน ๑ แจกัน (แบบธรรมดาใช้ ๒ คู่)


การจัดโต๊ะหมู่แบบต่างๆ

การตั้งโต๊ะหมู่ถวายพระพรหรือรับเสด็จ

ปัจจุบันหน่วยงานราชการ วัด และเอกชน นิยมตั้งโต๊ะถวายพระพรหรือรับเสด็จพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หรือพระบรมราชินีนาถนวโรกาสสำคัญๆ เช่น วันเเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น โดยมีหลักในการจัดดังนี้

๑. เครื่องสักการะมี แจกัน พุ่มดอกไม้ เทียนแพ และกรวยดอกไม้ (ไม่นิยมใช้เชิงเทียนและกระถางธูป) โดยวางกรวยดอกไม้ไว้บนเทียนแพ แล้วตั้งเทียนแพไว้ที่โต๊ะหมู่บูชาตัวต่ำสุด หากจัดในพิธีที่เชิญแขกมาในงานด้วย มิให้ตั้งเครื่องสักการะไว้ต่ำกว่าที่นั่งของแขกในพิธี

๒. ปริมาณเครื่องสักการะจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าจะใช้โต๊ะหมู่ชนิดใด และความสวยงาม โดยไม่ให้ทึบหรือโปร่งเกินไป ประการสำคัญคือ ไม่ต้องตั้งพระพุทธรูป ดดยตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ ที่โต๊ะหมู่ตัวสูงที่สุดตามตัวอย่าง

การจัดเครื่องทองน้อย เครื่องทองน้อย เป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่ง สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่น พระบรมอับิ เป็นต้น ประกอบด้วยเชิงเทียน ๑ ที่ เชิงธูป ๑ เชิง สำหรับปักธูปไม้ระกำ กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี หรือ พานรอง โดยมีวิธีตั้งคือ หากบูชาศพให้หันธูปเทียนมาทางผู้บูชา หากต้องการให้ศพบูชาพระ ให้หันธูปเทียนไปทางศพ

การจัดเครื่องทองน้อย เครื่องทองน้อย เป็นเครื่องบูชาชนิดหนึ่ง สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่น พระบรมอับิ เป็นต้น ประกอบด้วยเชิงเทียน ๑ ที่ เชิงธูป ๑ เชิง สำหรับปักธูปไม้ระกำ กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี หรือ พานรอง โดยมีวิธีตั้งคือ หากบูชาศพให้หันธูปเทียนมาทางผู้บูชา หากต้องการให้ศพบูชาพระ ให้หันธูปเทียนไปทางศพ


ความเป็นมาการจัดโต๊ะหมู่บูชา
ความเป็นมาการจัดโต๊ะหมู่บูชานี้ เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมาช้านาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีมาตั้งแต่สมัยใด สันนิษฐานว่าเดิมอาจจะวางสิ่งเคารพ วัตถุมงคลบนหิ้งหรือบนแท่นมาก่อน ส่วนการจัดวางบนโต๊ะน่าจะได้แบบอย่างมาจากการตั้งโต๊ะน้ำชาของชาวจีนที่มาค้าขายกับไทยในสมัยก่อนจากจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ครั้งเมื่อมีงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ ก็มีการเริ่มจัดโต๊ะบูชาเป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทางโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชาแบบต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๑๐๐ โต๊ะ และรูปแบบการจัดดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง มีการจัดโต๊ะหมู่บูชาขึ้นเป็นพิเศษในสถานที่ราชการ องค์การและสโมสรทั่วไป
ขณะเดียวกัน พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น ก็สนับสนุนนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยให้จัดโต๊ะหมู่บูชาในหน่วยงานและสถานศึกษาด้วย รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการตั้งเสาประดับธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์เข้าไว้ในโต๊ะหมู่บูชาในพิธีการต่าง ๆ ที่ราชการจัดขึ้น
เดิมทีมีการกราบบูชาพระรัตนตรัยอย่างเดียว พลเอกมังกร เห็นว่าเมื่อเคารพพระรัตนตรัย (ศาสนา) แล้ว ควรจะได้มีการเคารพธงชาติ (ชาติ) และพระมหากษัตริย์ด้วย เมื่อมีการกราบพระรัตนตรัยแล้ว ก็มีการคำนับธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย
ต่อมาได้มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองวันชาติไทย การเคารพธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ จึงเปลี่ยนเป็นการคำนับเพื่อแสดงความเคารพเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องคำนับ ๒ ครั้งดังแต่ก่อน เพราะถือว่าพระมหากษัตริย์และชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ปัจจุบันในพิธีเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือราษฎร์พิธี ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคลก็นิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งสิ้น จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะถือเป็นคตินิยมของชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า เมื่อพุทธศาสนิกชนต้องการบำเพ็ญกุศลใด ๆ นิยมนิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขมาในงานนั้น ๆ ด้วยเพื่อให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พร้อมบริบูรณ์ คตินิยมนี้จึงถือต่อเนื่องสืบมา ดังนั้น ศาสนาพิธีทางพระพุทธศาสนาจึงนิยมอัญเชิญพระพุทธรูปเป็นนิมิตแทนองค์พระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพิธีด้วย
การจัดโต๊ะหมู่บูชามีหลายโอกาส อาทิ การจัดโต๊ะหมู่บูชาประจำหน้าพระประธาน การจัดในพิธีสงฆ์ การจัดในการประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมตั้งโต๊ะหมู่บูชาใน ๒ กรณี คือ
๑. ในพิธีทางพุทธศาสนา เช่น การทำบุญ ฟังเทศน์ ฯลฯ
๒. ในพิธีถวายพระพรหรือตั้งรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
การจัดโต๊ะหมู่บูชาโดยเฉพาะเครื่องบูชาบนโต๊ะ อันได้แก่ พานพุ่ม แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียนถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ผู้จัดควรทำด้วยความประณีตบรรจง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและยังเป็นการแสดงออกถึงศิลปะในการจัดอีกด้วย
การจุดธูป ๓ ดอก เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการคือ
๑. บูชาพระปัญญาคุณ
๒. บูชาพระวิสุทธิคุณ
๓. บูชาพระมหากรุณาธิคุณ
การจุดเทียน ๒ เล่ม เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย เล่มขวาของพระพุทธรูปหรือด้านซ้ายของผู้จุดเป็นเทียนพระธรรม เล่มซ้ายของพระพุทธรูปหรือด้านขวาของผู้จุดเป็นเทียนพระวินัย

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชามีหลายแบบ ที่สำคัญคือ การตั้งเครื่องบูชาทุกชนิด จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่บูชาที่อยู่สูงสุด ส่วนปริมาณเครื่องบูชาอาจแตกต่างกันตามประเภทของโต๊ะหมู่ซึ่งมีหลายแบบ เช่น โต๊ะหมู่ ๔, หมู่ ๕, หมู่ ๗, หมู่ ๙ และหมู่ ๑๕ เป็นต้น แต่ละแบบก็จะมีการจัดและความหมายแฝงอยู่ ซึ่งจะขอยกเป็นตัวอย่างการจัดโต๊ะหมู่บูชาที่เป็นที่นิยมจัดกันทั่วไป ดังนี้

โต๊ะหมู่ ๕ ประกอบด้วย กระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๓ หรือ ๔ คู่, พานดอกไม้ ๕, แจกัน ๒ คู่ ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายดังนี้
กระถางธูป 1 กระถาง หมายถึง เอกกัคคตา คือ จิตเป็นหนึ่งเดียว หรือบริสุทธ์ หรืออุเบกขา
แจกันดอกไม้ ๔ ชุด หมายถึง อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พานดอกไม้ ๕ พาน หมายถึง ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เชิงเทียน ๖ อัน (๓ คู่) หมายถึง อายตนภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เชิงเทียน ๘ อัน (๔ คู่) หมายถึง อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ

โต๊ะหมู่ ๗ ประกอบด้วย กระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๔ หรือ ๕ คู่, พานดอกไม้ ๕, แจกัน ๒ คู่, เชิงเทียน ๑๐ อัน (๕ คู่) หมายถึง ทศบารมี ๑๐ คือ
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา

โต๊ะหมู่ ๙ จะประกอบด้วยกระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๖ หรือ ๔ คู่, พานดอกไม้ ๗ พาน, แจกัน ๓ คู่
พานดอกไม้ ๗ พาน หมายถึง โพธิ์ฌงค์ ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา
เชิงเทียน ๑๒ อัน หมายถึง อาตยภายในและภายนอก คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
อนึ่ง ในพิธีส่วนตัว เช่น ทำบุญอัฐิ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือทำบุญใด ๆ เฉพาะตน และมีพื้นที่ในการจัดจำกัดหรือหาโต๊ะหมู่ตามกำหนดไม่ได้หรือมีทุนทรัพย์จำกัด อาจดัดแปลงเครื่องบูชาและรูปแบบการจัดก็ได้ โดยยึดหลักว่า

๑. พระพุทธรูปต้องอยู่สูงกว่าเครื่องบูชาทุกชนิด
๒. เครื่องบูชาอย่างน้อยที่สุดต้องมีแจกันดอกไม้ ๑ คู่ เชิงเทียน ๑ คู่ และกระถางธูป ๑ กระถาง ส่วนพานดอกไม้จะมีหรือไม่ก็ได้
โดยปกติ การตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่มีเฉพาะพระพุทธรูป (ไม่มีธงชาติหรือพระบรมฉายาลักษณ์) จะมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. งานพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นประธานหรือโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์มางาน เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ฯลฯ
๒. งานศาสนพิธีวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา ฯลฯ
๓. งานพิธีที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ เปิดอาคาร งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ
ส่วนการตั้งโต๊ะหมู่บูชาในบางพิธีของทางราชการ เช่น การอบรม ประชุม สัมมนา ฯลฯ นิยมตั้งธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักคือ โต๊ะหมู่บูชาอยู่ตรงกลาง ธงชาติอยู่ด้านขวาของโต๊ะหมู่ พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ไว้ทางซ้ายของโต๊ะหมู่

สำหรับ การตั้งโต๊ะหมู่ถวายพระพรหรือรับเสด็จ มีหลักว่าไม่ต้องประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ที่โต๊ะหมู่ตัวสูงสุดแทน โดยมีเครื่องสักการะคือ แจกัน พุ่มดอกไม้ ธูปเทียนแพ (ธูปต้องอยู่ข้างบนเทียน) และกรวยดอกไม้มีฝากรวยครอบวางบนธูปเทียนแพ
ธูปเทียนแพจะอยู่โต๊ะหมู่ตัวต่ำสุด ปริมาณเครื่องสักการะจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสวยงามและชนิดของโต๊ะหมู่ และการจัดโต๊ะหมู่แบบนี้ไม่ต้องมีเสาธงชาติ และส่วนมากไม่นิยมใช้เชิงเทียนและกระถางธูป หากมีก็ไม่มีการจุดทั้งธูปและเทียน ตั้งเป็นเครื่องประดับโต๊ะหมู่เท่านั้น การปฏิบัติเพื่อถวายสักการะให้ถวายคำนับและเปิดกรวยทีครอบออก จากนั้นถวายคำนับอีกครั้ง
อนึ่ง งานที่ไม่ต้องตั้งโต๊ะหมู่บูชา ได้แก่ งานประชุมนานาชาติและไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และงานประชุมคณะกรรมการหรืออนุกรรมการต่าง ๆ ตามปกติ

โต๊ะหมู่ ๕ ประกอบด้วย กระถางธูป ๑ กระถาง, เชิงเทียน ๓ หรือ ๔ คู่, พานดอกไม้ ๕, แจกัน ๒ คู่ ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายดังนี้
กระถางธูป 1 กระถาง หมายถึง เอกกัคคตา คือ จิตเป็นหนึ่งเดียว หรือบริสุทธ์ หรืออุเบกขา

แจกันดอกไม้ ๔ ชุด หมายถึง อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พานดอกไม้ ๕ พาน หมายถึง ขันธ์ ๕ คือ

1รูป 2เวทนา 3สัญญา 4สังขาร 5วิญญาณ เชิงเทียน ๖ อัน (๓ คู่) หมายถึง อายตนภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เชิงเทียน ๘ อัน (๔ คู่) หมายถึง อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ