รูปสองอย่าง05

ประเภทที่ ๕ หทยรูป

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป

สัตว์ ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป นั้น ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ นั้นชื่อว่า หทยรูป

๑๖. หทยรูป

หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง

(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้นเหมือนรังบวบขม

(๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป หรือ วัตถุหทยรูป

น้ำ เลี้ยงหัวใจนี้แหละเป็นที่อาศัยให้เกิดจิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิบาก ๔ ) อันเป็นปัจจัยให้เกิดทั้งความดีและความชั่ว

น้ำเลี้ยงหัวใจ คือ หทยรูป หรือ หทยวัตถุ หรือ วัตถุหทยรูป นี้มีมากสี ด้วยกัน ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่จริตของบุคคล กล่าวคือ

บุคคลที่มากด้วย ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี แดง

" " โทสจริต " " ดำ

" " โมหจริต " " หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ

" " วิตกจริต " " เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู

" " สัทธาจริต " "เหลืองอ่อนคล้ายสีดอกกัณณิกา

" " พุทธิจริต " " ขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย

หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ

ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ

ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล

จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป

สัตว์ ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็น ประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป