รูปสองอย่าง06

ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป

ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม

โดย ธรรมชาติของรูปแต่ละกลุ่มรูป ย่อมมีสมุฏฐานให้เกิดอยู่ ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ในกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมนั้น มีชีวิตรูปเป็นผู้ตามรักษา ตั้งแต่แรกเกิดให้ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูปนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากกรรมที่ ทำให้รูปเกิดขึ้นนั้น มีหน้าที่ทำให้รูปเกิดเท่านั้น ไม่มีหน้าที่รักษา ชีวิตรูปเท่านั้นมี หน้าที่ตามรักษา เหมือนกลีบของดอกบัวทำหน้าที่รักษาเกษรบัวที่เกิดจากกอบัวแล้ว ก็เน่าไปพร้อมกับเกษรบัว ฉะนั้นกรรมทั้งหลายก็เช่นกันทำให้รูปเกิดด้วยอำนาจของ ตน แล้วก็มีชีวิตรูปที่เกิดจากกรรมนั่นแหละเป็นผู้รักษากลุ่มรูป ที่เกิดร่วมกันให้ตั้ง อยู่ แล้วก็ดับไปพร้อมกับกลุ่มรูปที่เกิดจากกรรมนั้น ๆ

๑๗. ชีวิตรูป

ชีวิตรูป เป็นชื่อของรูปที่เกิดจากกรรม ทำหน้าที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยกันให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปพร้อมกับตน รูปทั้งหลายอยู่ได้ด้วยการอาศัยรูปนั้น ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สหชาตรูปทั้ง หลายเป็นอยู่ได้นั้น เรียกว่า ชีวิตรูป

ชีวิตรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สหชาตรูปานุปาล ลกฺขณํ มีการรักษาสหชาตรูป เป็นลักษณะ

เตสํ ปวตฺตน รสํ มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้น เป็นกิจ

เตสญฺเญว ฐปน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการประกอบให้มั่นคงอยู่ เป็นผล

ยาปยิตพฺพ ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปที่เสมอภาค(ที่สมส่วน) เป็นเหตุใกล้

ที่ ว่า มีการรักษาสหชาตรูปนั้น หมายเฉพาะรูปที่เกิดจากกรรม คือ กัมมชรูป เท่านั้น จึงต้องมีชีวิตรูปนี้รักษาให้คงอยู่และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ต้องเป็นกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม จึงจะมีชีวิตรูปรักษา ให้กัมมชรูปนั้น ๆ ดำรงคงอยู่ได้

ส่วนต้นไม้ ไม่ได้เกิดจากกรรม จึงไม่มีชีวิตรูป แต่ที่ดำรงคงอยู่ได้เพราะอุตุ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง ดังปรากฏในภูตคามสิกขาบทวินัย พระบาลีว่า ชีวสญฺญิ โน หิ มนุสฺสา รกฺขสฺมึ มนุษย์ทั้งหลายมีความสำคัญว่า ต้นไม้นี้มีชีวิต

อนึ่งคำว่าชีวิต มีทั้งชีวิตรูป เป็นรูปธรรม ดังที่กล่าวอยู่ ณ บัดนี้ และ ชีวิต นาม เป็น นามธรรม (นามเจตสิก) ซึ่งได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๒ นั้น ส่วนคำว่า ชีวิตินทรีย เป็นศัพท์ที่รวมความหมายทั้ง ชีวิตรูป และชีวิตนาม ทั้ง ๒ อย่าง

เป็นใหญ่ในการรักษารูป องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป

เป็นใหญ่ในการรักษานาม องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก