จัดการเรียนรู้เรื่องความขยันหมั่นเพียร

บทที่ 1
บทนำ
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า

ภูมิหลัง
พระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตน เองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ตามศักยภาพ
ด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐที่เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้าง คน สร้างงาน เพื่อช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการสร้างชาติให้มั่นคงได้อย่างยั่งยืน เชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาในการสร้างชาติ ปรับโครงสร้างและระบบการศึกษา ยึดหลักการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพและความเสมอภาค ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้างคน บูรณาการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการปฏิรูปการเรียนรู้และเชื่อมั่นในนโยบายการศึกษาเพื่อสร้าง งาน สร้างเยาวชนให้มีความรู้กับการทำงาน กระทรวงศึกษาธิการโดยอาศัยอำนาจตามความในบทเฉพาะกาล มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยยึดหลักความมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ กล่าวคือ เป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีโครงสร้างหลักสูตรยืดหยุ่น กำหนดจุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวม 12 ปี สาระการเรียนรู้ มาตราการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นช่วงชั้นละ 3 ปี จัดเฉพาะส่วนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นไทยความเป็นพลเมือง ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดเป็นรายปีหรือราย ภาคให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ รวมถึงจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมายด้วย
การจัดการเรียนรู้มุ่งเน้น ความสำคัญทางด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ให้ความสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัริย์ทรงเป็น ประมุข ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬาภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ( กรมวิชาการ. 2545 : 2)
คุณสมบัติที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กและปลูกฝังให้ติดตัวไปในเวลาที่จำกัด ( 6 ปี)
4 ด้าน 22 ข้อ คือ ด้านจิตใจและสังคม ด้านสติปัญญา ด้านสุขภาพพลานามัย ด้านประกอบอาชีพ (กรมวิชาการ . 2544 : 71 )
มีวินัย
ซื่อสัตย์สุจริต
ขยัน อดทน
มีจริยธรรม คุณธรรม
มีความเป็นประชาธิปไตย
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
ร่วมในกระบวนการพัฒนา
มีความเป็นไทย
ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทย ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่เรียนใฝ่รู้
สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
รักการประดิษฐ์ ค้นคว้า
รู้เท่าทันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
มีสุขภาพจิตดี
เจริญเติบโตสมวัย
ร่างกายแข็งแรง
ปลอดจากโรคภัย พึงป้องกัน
ปราศจากสารพิษและสารเสพย์ติด
มีทักษะ มีคุณธรรม และเจตคติที่ดี ต่อการประกอบสัมมาชีพ
สามารถสร้างและพัฒนาสัมมาชีพ
ค่า นิยมของสถานศึกษา (กรมวิชาการ . 2546 : 27-28 ) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ความดี และความสุขของผู้เรียน จำแนกตามค่านิยมที่ปลูกฝัง วิธีการปลูกฝัง และผลที่เกิดขึ้น ปรากฏผลดังนี้
ค่านิยมที่ปลูกฝัง ค่านิยมที่สถานศึกษาปลูกฝังแก้ผู้สอนและผู้เรียนคล้ายคลึงกันได้แก่
ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา
การเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมและพฤติกรรมอันพึงประสงค์
มีระเบียบวินัย แต่งกายสุภาพเรียบร้อยถูกระเบียบ
มีคารวะธรรม สัมมาคารวะ มารยาทดี พูดจาไพเราะ สุภาพเรียบร้อย
มีน้ำใจและเอื้ออาทรต่อกัน เสียสละ ให้อภัย เมตตากรุณา
อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและภูมิใจความเป็นไทย
สถานศึกษาปลูกฝังค่านิยมแก่ผู้สอนและผู้เรียนด้วยวิธีการดังนี้
ประชุมครู/อาจารย์เพื่อกำหนดค่านิยมที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา และมอบหมายให้
ดูแลกิจกรรม/โครงการต่างๆ โดยเน้นการทำงานร่วมกัน
ส่งครู/อาจารย์ไปประชมสัมมนาศึกษาดูงานและศึกษาต่อ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้า
ทางวิชาชีพและศักยภาพองครู
ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครู/อาจารย์
ฝึกผู้เรียนให้ปฏิบัติตามค่านิยมของสถานศึกษาโดยผ่านการจัดกิจกรรม/โครงการ และ
มีการติดตามรายงานผล รวมทั้งประชาสัมพันธ์
ให้ครู/อาจารย์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แก่ผู้เรียน โดยสอดแทรกในการเรียนการ
สอน และยกย่องผู้ที่มีความประพฤติดี
อบรมบ่มนิสัยผู้เรียนที่หน้าเสาธง นิมนต์พระมาเทศน์ที่สถานศึกษา พาไปพัฒนาจิตที่วัด และเข้าค่ายพุทธธรรม
ผลที่เกิดขึ้น ผู้สอนและผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นไปตามสถานศึกษาคาดหวัง ดังนี้
ครู/อาจารย์ และผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์
มีความรับผิดชอบมากขึ้น
มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบทางราชการและสถานศึกษา
4. มีสัมมาคารวะ กิริยามารยาทงาม อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจาไพเราะ
สาระพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ที่ 1.1 เข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
มาตรฐานที่ 1.2 ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
มาตรฐาน ที่ 1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ปัจจุบัน เราจะเห็นว่า คุณลักษณะที่ดีๆ หลายประการในสังคมไทย ซึ่งเคยช่วยจรรโลงสังคมให้เป็นสุข ได้เหือดหายไป เช่น การร่วมมือกันทำงาน การไม่ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น เพราะ “ความเกรงใจ” การช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ตามแนวคิด”ช่วยเขาเอาบุญ” เป็นต้น (กรมวิชาการ . 2546 : 4 ) คุณลักษณะดีๆเหล่านั้นเกือบจะหาไม่ได้ในสังคมไทย ความกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้มีพระคุณ การเลี้ยงดูพ่อแม่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยที่เคยปฏิบัติกันเป็นปกติในสังคมไทย ก็กลับทอดทิ้ง และไปตามอย่างวัฒนธรรมตะวันตก ความรักนวลสงวนตัวของหญิงไทย ความมีมารยาทอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ การสั่งสอนให้เด็กรู้จักอดทน พูดเพราะ เกรงกลัวบาป มุ่งทำความดีเพื่อผลภายหน้า รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นลักษณะที่ดีของคนไทย สังคมไทยปัจจุบันก็ทอดทิ้งและไได้มีกรสั่งสอนอบรมให้แก่เด็กไทยอย่างจริงจัง เด็กรุ่นหลังจึงเติบโตมาเป็นคนไทยรุ่นใหม่ที่ไม่มีมารยาท ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีคุณภาพ และไม่งดงามตามแบบที่สังคมต้องการ
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อ พัฒนาค่านิยมความความขยันหมั่นเพียร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า ที่มีประสิทธิภาพ 80/80
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
พัฒนาค่านิยมความขยันหมั่นเพียรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เพื่อ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า
3. นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 โรงเรียนในอำเภอวังหิน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ นักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา จำนวน 55 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Random Sampling )
ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรอิสระ แผนการจัดการเรียนรู้รู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า
2.2 ตัวแปรตาม
2.2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความขยันหมั่นเพียรเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
2.2.2 นักเรียนมีความพึงพอใจที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า
3. เนื้อหาในการทดลองครั้งนี้ คือ เนื้อหาในสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สาระ
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ปีการศึกษา 2547 จำนวน ชั่วโมง
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความขยันหมั่นเพียรหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความขยันหมั่นเพียรรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้า มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนจัดการเรียนรู้รู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องความขยันหมั่นเพียร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีการสอนแบบขันธ์ห้าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
กรอบแนวความคิด
การ ปลูกฝังค่านิยม ( กรมวิชาการ . 2545 : 66 ) เป็นวิธีการที่พ่อแม่ ครูอาจารย์ จะต้องสื่อความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมที่ดีงามที่สามารถให้เด็กยึดเป็นเกณฑ์ ในการประพฤติปฏิบัติค่านิยมทั้งหลายย่อมเป็นเครื่องช่วยเด็กให้สามารถเสริม สร้างบุคลิกภาพให้สมบูรณ์ขึ้น และครองชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น ข้อความเชื่อบางอย่างที่เป็นพื้นฐานทางหลักจริยธรรมหรือหลักความดีงามต่างๆ ย่อมมีอิทธิพลสร้างสรรค์อย่างมากในเรื่องนี้ สิ่งหนึ่งที่เป็นหลักสำคัญที่สุดในการสอนเด็ก ได้แก่ ความรักที่มีต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้จะทำให้ดีที่สุดต้องมีทัศนคติที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีค่าเท่ากัน
ฉะนั้น พ่อแม่ คู่อาจารย์ จะต้องใช้วิธีอธิบายและอภิปรายค่านิยมพื้นฐานกับเด็ก ซึ่งได้แก่ ความรักและเห็นค่าในตัวเองและผู้อื่น แสดงความรักและความห่วงใยตัวเอง แสดงให้เด็กเห็นว่าการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางใจย่อมนำแต่ความรื่นรมย์ ยินดีมาสู่ แทนที่จะทำให้เด็กรู้ว่าอะไร ดี เลว เด็กๆควรจะต้องรู้สึกด้วยตนเองว่าอะไรเป็นสิ่งที่น่าปราถนา จึงควรเน้นความชื่นชมยินดีในการให้ และการห่วงใยกันและกัน
การพิจารณา สร้างเสริมค่านิยม ( กรมวิชาการ . 2545 : 66 ) เป็นวิธีการที่พ่อแม่ ครู อาจารย์ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ค่านิยมพื้นฐาน ได้แก่ ความรักและความมีค่าในตัวเองและบุคคลอื่นและสร้างเสริมค่านิยมสำหรับชีวิต ประจำวันด้วยตนเองได้ ด้วยการป้อนคำถามเกี่ยวกับข้อควาเชื่อที่เด็กยึดไว้เป็นพื้นฐานในการดำเนิน ชีวิต คำถามต่างๆ ควรจะยั่วยุให้เด็กคิดถึงค่านิยมส่วนตัว พิจารณาว่าค่านิยมเหล่านั้นสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองอย่าง ไร และอีกวิธีหนึ่ง ต้องให้เด็กอภิปรายร่วมกันอย่างเต็มที่และเปิดเผย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่คับข้องใจด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน นอกจากนี้ เป็นการช่วยให้เด็กกลั่นกรองหาทางให้ความเข้าใจในเรื่องข้อความเชื่อต่างๆ ในชีวิตของแต่ละคน และให้พิจารณาว่าค่านิยมเหล่านั้นมีปรากฏสะท้อนอยู่ในการประพฤติปฏิบัติของ เด็กหรือไม่
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมวิชาการ . 2544 : 7 ) มีจุดมุ่งหมายดังนี้
มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
มีสุขภาพและบุคลิกภาพดี มีสุนทรียภาพ
มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา และมีวิสัยทัศน์
มีความรู้ ทักษะที่จำเป็น และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รู้จักพึ่งตนเองและแสวงหาและใช้ความรู้ในการทำงานและอยู่ร่มกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
มีความภูมิใจในความเป็นไทยและเป็นพลเมืองดี
ความพร้อมที่จะร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
ลักษณะ ผู้เรียนและลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนี้ (กรมวิชาการ . 2544 : 9-10 )
คนดี คือ คนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงอก เช่น มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุข
คนเก่ง คือ คนที่สมรรถภาพสูง ในการดำเนินชีวิต โดยมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือรอบด้าน หรือมีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง เช่น ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านภาษา ศิลป ดนตรี กีฬา มีภาวะผู้นำ รู้จักตนเอง ควบคุมตนเอง เป็นต้น เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทย สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ และทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนสังคมและประเทศชาติได้
คนมีความสุข คือคนที่มีสุขภาพดี ทั้งทางกายและจิตใจ เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง มีอิสระภา ปลอดพ้นจากการตกเป็นทาสของอบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเพียงพอ
ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึง ประสงค์ คือกระบวนการของปัญญาที่พัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข บูรณาการ เนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจของ ผู้เรียน ทันสมัย เน้นกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ตามสภาพจริงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างไกล เป็นกระบวนการที่มีทางเลือกและมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายน่าสนใจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และ มุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และเป็นคนมีความสุข
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
นิยามคำศัพท์เฉพาะ
การแสดงบทบาทสมมุติ (บุญชม ศรีสะอาด .2541 : 61 )
(Role Playing ) คือ เทคนิคกรสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติ
ขึ้น นั่นคือแสดงบทบาทสมมติ
ค่า นิยม พนัส หันนาคินทร์ (2526: 18 ) คือ การยอมรับนับถือและพร้อมจะปฏิบัติตามคุณค่าที่ตนหรือกลุ่มคนที่มีอยู่ต่อ สิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ความคิด อุดมคติ รวมทั้งการกระทำ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสุนทรียภาพ (กรมวิชาการ , 2545 : 73 )
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
การแสดงบทบาทสมมุติ
เป็นการแสดงบทบาทตามสถานการณ์ตัวอย่าง บทบาทสมมุติจะมีรูปแบบสถานการณ์
ที่ หลากหลาย ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้แสดงบทบาทด้วยการใช้ทักษธการดำเนินชีวิตตามที่ผู้สอน หรือผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมต้องการสอน โดยไม่มีการซ้อมล่วงหน้า เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ่งในเรื่องที่เรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดอย่าง เป็นตามธรรมชาติ และถือเอาการแสดงออกทั้งความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นข้ออภิปราย เพื่อการเรียนรู้ เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ประสบกับสถานการณ์จริงในสภาพของการสมมติขึ้นมา เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ทดลองเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมี ประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ ตลอดจนนำประสบการณ์ที่มีมาใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับความรู้สึกที่อาจเป็นสาเหตุของความกระวนกระวายใจในการ เผชิญหน้า ผู้เรียนสามารถสังเกตและฝึกปฏิบัติให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย โดยการควบคุมสิ่งแวดล้อมก่อนเผชิญสถานการณ์จริง ( กรมวิชาการ . 2545 : 63-67 )
ข้อดีของการแสดงบทบาทสมมติ
1. ช่วยฝึกฝนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้เรียนตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
2. ผู้เรียนมีโอกาสสวมบุคลิกภาพของผู้อื่น ซึ่งช่วยให้มองเห็นหรือตระหนักถึงทัศนะและปัญหาของอีกฝ่ายหนึ่ง
3. สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึก อารมณ์ และเจตคติ ของผู้เรียนได้อย่างดี
4. ก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นกันเอง สร้างความร่วมมือในกลุ่มสร้างความสามัคคี และช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
ส่งเสริมให้บทเรียนน่าสนใจและผ่อนคลายเครียด
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ลึกซึ่งขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการปรับหรือเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมรวมทั้งปฏิบัติตนในสังคม
ได้เหมาะสม
8. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และเป็นผู้มีการสังเตหรือมีความเชื่อมั่นในตนเองในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น
ข้อจำกัดของการแสดงบทบาทสมมติ
การสอนโดยใช้บทบาทสมมติต้องใช้เวลามากโดยเฉพาะในชั้นอภิปราย
การสอนโดยใช้บทบาทสมมติอาจพบปัญญาในเรื่องการควบคุมระดับห้องเรียน มักจะ
เกิดความวุ่นวายสับสนอันเนื่องมาจากกิจกรรมการแสดง
เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สมมติขึ้นเพื่อนำมาแสดงจะต้องง่ายต่อความเข้าใจ ไม่ทำให้ผู้
แสดงสับสน
บทบาทต่างๆที่กำหนดควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ เพื่อให้ผู้แสดงจะได้ไม่รู้สึกยากใน
การแสดงบทบาท
การแสดงอาจไม่อิสระในการแสดงออกตามความรู้สึกของตนเองหากกำหนดราย
ละเอียดของการแสดงมากเกินไป
6. ผู้แสดงบางคนอาจเขินอายหรือมุ่งเอาแต่ตัวเองเพื่อต้องการให้การแสดงประสบความสำเร็จ
7. บทบาทสมมติที่แสดงต่อหน้าคนกลุ่มใหญ่อาจมีประสิทธิภาพน้อย เนื่องจากผลทางจิตวิทยากลุ่มต่อตัวผู้แสดง
8. แนวทางการแก้ปัญหาอาจไม่สามารถนำไปปรับใช้กับสถานการณ์จริงได้ เพราะมีตัวแปรอื่นที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมาเกี่ยวข้องด้วย
การ แสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการฝึกให้นักเรียนได้ประสบกับสถานการณ์จริงใสภาพของ การสมมติขึ้นทำให้นักเรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่าง ประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ( )
ทิศนา แขมมณี (2527 ) และญาดาพณิต พิณกุล (2539 : 265 –269 ) ได้อธิบายการสอนแบบบทบาทสมมติ ไว้ดังนี้
การ เรียนรู้โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด ดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดของตนและนำเอาการแสดงออกของผู้แสดงทั้งด้าน ความรู้ ความคิด และความรู้สึก และพฤติกรรมที่สังเกตพบมาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ คือ มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง
องค์ประกอบสำคัญ
มีสถานการณ์สมมุติและบทบาทสมมุติ
มีการแสดงบทบาทสมมุติ
มีการอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
ขั้นตอนสำคัญ
ผู้สอนและผู้เรียนนำเสนอสถานการณ์สมมุติและบทบาทสมมุติ
ผู้สอนและผู้เรียนเลือกผู้แสดงบทบาท
ผู้สอนเตรียมผู้สังเกตการณ์
ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติและสังเกตพฤติกรรมที่แสดง
ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้แสดง
ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการแสดง การชมการแสดง
เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติให้มีประสิทธิภาพ
1. การเตรียมการ ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน และสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติที่จะช่วยสนองวัตถุประสงค์นั้น สถานการณ์และบทบาทสมมุติที่กำหนดขึ้นควรมีความใกล้เคียงกับความจริง ส่วนจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ผู้สอนอาจใช้บทบาทสมมุติแบบละครซึ่งจะกำหนดเรื่องราวให้แสดง แต่ไม่มีบทให้ ผู้สวมบทบาทจะต้องคิดแสดงเอง หรืออาจใช้บทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหาซึ่งจะกำหนดสถานการณ์มีปัญหาหรือความขัด แย้งให้ และอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากบ้าง น้อยบ้าง ซึ่งผู้สวมบทบาทจะใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการแสดงออก และแก้ปัญหาตามความคิดของตน
2. การเริ่มบทเรียน ผู้สอนสามารถกระต้นความสนใจของผู้เรียนได้หลายวิธี เช่น โยงประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียน หรือประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนครั้งก่อนๆเข้าสู่เริ่แงที่ ศึกษา หรืออาจใช้วิธีเล่าเรื่องราวหรือสถานการณ์สมมุติที่เตรียมมาแล้ว ทิ้งท้ายด้วยปัญหา เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนคิด อยากติดตาม หรืออาจใช้วิธีชี้แจงให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมแสดง และช่วยกันคิดปัญหา
3. การเลือกผู้แสดง ควรเลือกใสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดง เช่น เลือกผู้แสดงที่มีลักษณะเหมาะกับบทบาท เพื่อช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นตามวัตถุประสงวค์ได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะตรงกนข้ามกับบทบาทที่กำหนดให้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนคนนั้นได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และเกิดความเช้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้ที่มีลักษณะต่างจากตน หรืออาจให้ผู้เรียนอาสาสมัครหรือเจาะจงเลือกคนใดคนหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์ที่ ต้องการให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ เมื่อได้ผู้แสดงแล้วควรให้เวลาผู้แสดงเตรียมการแสดง โดยอาจให้ฝึกซ้อมบ้างตามความจำเป็น
4. การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม ผู้สอนควรเตรียมผู้ชมและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าการแสดงบทบาทสมมุตินี้จัด ขึ้นมิใช่มุ่งที่ความสนุกเพลิดเพลินเท่านั้น แต่มุ่งที่จะให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงควรชมด้วยการสังเกต ผู้สอนควรให้คำแนะนำว่าควรสังเกตอะไร และควรบันทึกข้อมูลอย่างไร และผู้สอนอาจทำแบบสังเกตการณ์ให้ผู้ชมใช้ในการสังเกตด้วยก็ได้
5. การแสดง ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉากการแสดงให้ดูสมจริง ฉากการแสดงอาจเป็นฉากง่ายๆ หรืออาจจะจัดให้ดูสวยงาม แต่ไม่ควรจะใช้เวลานานมาก และควรคำนึงถึงความประหยัดด้วย เมื่อทุกฝ่ายพร้อมแล้วผู้สอนเริ่มการแสดง และสังเกตการณ์แสดงอย่างใกล้ชิด ไม่ควรมีการขัดการแสดงกลางคัน นอกจากกรณีที่มีปัญหาเมื่อการแสดงออกนอกทาง ผู้สอนอาจจำเป็นต้องให้คำแนะนำบ้าง เมื่อการแสดงดำเนินไปพอสมควรแล้ว ผู้สอนควรตัดบท ยุติการแสดง ไม่ควรให้การแสดงยืดยาว เยิ่นเย้อ จะทำให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่าย การตัดบทควรทำเมื่อเห็นว่าการแสดงได้ให้ข้อมูลแก่กลุ่มเพียงพอที่จะนำมา วิเคราะห์และอภิปราย เพื่อให้การเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือตัดบทเมื่อการแสดงเริ่มยืดเยื้อ หรือเมื่อผู้ชมพอจะเดาได้ว่าเรื่องราวจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือในกรณีที่ผู้แสดงเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากเกินไปจนการแสดงต่อไปไม่ได้ ควรตัดบททันที
6. การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง ขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญมาก เพราะเป็นขั้นที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ เทคนิคที่จำเป็นสำหรับการอภิปรายในช่วงนี้มีหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ การสัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดของผู้แสดงและจดบันทึกไว้บนกระดาน ต่อจากนั้นจึงสัมภาษณ์ผู้ชมหรือผู้สังเกตการรณ์ถึงข้อมูลที่สังเกตได้ ผู้สอนควรบันทึกข้อมูลเหล่านี้บนกระดานเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นประเด็นใน การอภิปรายและสรุป ต่อจากนั้นจึงให้ทุกฝ่ายร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น และสรุปประเด็นการเรียนรู้ สิ่งสำคัญมากที่ผู้สอนพึงคำนึงในการอภิปรายก็คือ การให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้บทบาทเป็นเครื่อง มือในการดึงความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ เจตคติหรืออคติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของผู้แสดงออกมาเพื่อเป็นข้อมูลในการเรียนรู้ ดังนั้น การอภิปรายจึงต้องมุ่งเน้นและอภิปรายในเรื่องของพฤติกรรมที่ผู้สวมบทบาท แสดงออกและความรู้สึกที่เป็นเหตุผลักดันให้เกิดการแสดงพฤติกรรมนั้นออกมา การซักถามจึงควรมุ่งประเด็นไปที่ว่าผู้แสดงได้แสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง ทำไมจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น และพฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดอะไรตามมา การอภิปรายไม่ควรมุ่งประเด็นไปที่การแสดงของผู้สวมบทบาทว่าแสดงได้ดี ไม่ดีเพียงใด เพราะอกจากจะเป็นการอภิปรายที่ผิดวัตถุประสงค์แล้วยังอาจทำให้ผู้แสดงเสีย ความรู้สึกได้
ในกรณีที่การอภิปรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนเสนอแนะแนวคิดและแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติมแตกต่างไปจากผู้ที่สวมบทบาทแสดง ผู้สอนอาจให้มีการแสดงและอภิปรายเพิ่มเติม และสรุปบทเรียนแล้วอภิปรายเชื่อสู่ชีวิตจริง (ประวัติ เอราวรรณ์. 2544 : 10-16 )
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
ข้อดี
เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น ได้
เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติ
กรรมของตน
เป็นวิธีสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจและแก้ปัญหา
เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่าง
สนุกสนาน และการเรียนรู้มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง
ข้อจำกัด
เป็นวิธีการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการและการจัดการอย่างรัดกุม หากจัดการไม่ดี
พออาจเกิดความยุ่งยากสับสนขึ้นได้
เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความไวในการรับรู้ ( ) ของผู้สอนหากผู้สอนขาดคุณ
สมบัตินี้ ไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนบางคน และไม่ได้แก้ปัญหาแต่ต้นอาจเกิดปัญหาต่อเนื่องไปได้
4. เป็นการแสดงที่ต้องอาศัยความสามารถของครุในการแก้ปัญหา เนื่องจากการแสดงของผู้เรียนอาจไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้สอน ผู้สอนจะต้องสามารถแก้ปัญหาหรือปรับสถานการณ์และประเด็นให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ได้
การสอนโดยบทบาทสมมติ (บุญชม ศรีสะอาด . 2541 : 61-62 ) คือเทคนิคการสอนให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น นั่นคือแสดงบทบาทที่กำหนดให้ การแสดงบทบาทสมมติมี 2 ประเภท ประเภทแรก ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่นโดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเอง บทบาทของบุคคลอื่นอาจเป็นบุคคลจริง เช่น คนที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์เพื่อนร่วมห้อง หรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อน หรือเป็นบุคลสมมติ เช่น สมมติว่าเป็นครุใหญ่ สมมติว่าเป็นชาวนา เป็นต้น ผู้แสดงบทบาทสมมติจะพูด คิด ประพฤติหรือมีความรู้สึกเหมือนกับบุคคลที่ตนสวมบทบาท ประเภทที่สอง ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผน พฤติกรรมของตนเอง แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต เช่น การสมัครงาน สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ผู้แนะแนวให้คำปรึกษาแก่นักเรียน บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ เช่น การแนะแนว การสัมภาษณ์ การสอน การจูงฝใจ การควบคุมความขัดแย้งเป็นต้น
กรแสดงบทบาทสมมติแตกต่างจากเกมจำลองสถานการณ์ตรงที่ไม่มีกฏเกณฑ์ และการแข่งขัน
ข้อดี
ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าคนอื่นอาจคิด รู้สึก และปฏิบัติอย่างไร เห็นอกเห็นใจคนอื่น
ใช้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
ผู้เรียนได้รับการเตรียมสำหรับสถานการณ์จริงที่เผชิญ
กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
สามารถใช้พัฒนาทักษะทางสังคม
ใช้ในการสอนหรือประเมินผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย หรือทั้งสองประการ
ผู้แสดงบทบาทเรียนรู้การจัดระบบความคิด และการตอบสนองโดยฉับพลัน
ฝึกการใช้ระบบสื่อสารจากการปฏิบัติมากว่าจากการใช้ถ้อยคำ
ข้อจำกัดหรือจุดด้อย
ใช้เวลามาก
นักเรียนเก่งมักผูกขาดสถานการณ์
ผู้ที่ขาดทักษะที่จำเป็น เช่น เป็นคนขี้อาย พูดติดอ่าง จะรู้สึกไม่สบายและเป็นปัญหา
มาก
ผู้เรียนบางคนไม่สามารถแสดงบทบาทตามกำหนดได้
ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงการแสดงบทบาทสมมติกับบทเรียนให้กับผู้เรียนได้ก็จะทำให้
กิจกรรมทั้งหมดนี้ด้อยคุณค่า
ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
ผู้สอนควรชี้แจงจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ และสิ่งที่ต้องการให้ผู้สังเกต
ศึกษาจากการแสดงบทบาทสมมตินั่น
2. ผู้สอนต้องเตรียมสถานการณ์ และมีคำอธิบายสถานการณ์ให้ชัดเจนสำหรับผู้ที่จะแสดงบทบาทแต่ละคน ซึ่งจะต้องจดจำสถานการณ์ที่ตนจะต้องแสดงบทบาทไว้ให้แม่นยำ มีความเข้าใจในบทบาทของตนอย่างรู้แจ้งสถานการณ์และบทบาทที่กำหนดมักพิมพ์ลง ในแผ่นกระดาษเพื่อมอบใผู้แสดงบทบาทได้ศึกษา
3. ควรให้เวลาในช่วงสั้นๆ สำหับผู้ที่แสดงบทบาทสมมติได้ประมวลความคิดซักซ้อมและเตรียมการ
ในการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีบรรยากาศที่เสรีและความรู้สึกปลอดภัย
อาจมีการปับปรุงและแสดงกิจกรรมบางตอนใหม่
หลังจากการแสดงบทบาทสมมติควรมีการอภิปรายถึงพฤติกรรมที่แสดง และ
ประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
6.1 แต่ละคนแสดงบทบาทได้สมจริงเพียงใด
6.2 มีความแตกต่างของบทบาทที่แสดงในทางใด
6.3 การแสดงบทบาทเปลี่ยนแปลงความคิดของท่านเกี่ยวกับตัวละครที่แสดงอย่างไร
6.4 อะไรคือจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสำหรับบทเรียนนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประชากรที่ศึกษา
นัก จิตวิทยาได้ศึกษาทดลองวิจัยกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะช่วยให้การอบรมเลี้ยงดูง่ายขึ้น ก็พบว่า ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กนั้นน่าจะให้ความรัก ความมีค่าในตัวเด็กที่ เรียกว่า ค่านิยมพื้นฐาน นั่นเอง
แยกเป็นเรื่องๆ จะได้ดังนี้
การให้ความรักคืออะไร
การให้ความรักคือ การให้ความห่วงใย รักใคร่ กังวล ถามทุกข์สุข การไว้ใจ การร่วม
มือ และการเป็นเจ้าของกันและกัน
>การให้เกียรติให้ความมีค่าคืออะไร
การให้ความมีค่าการให้เกียรติทำได้ 2 อย่าง คือ การสร้างความมีค่าให้ตนเอง และการ
ได้รับความมีค่าจากผู้อื่น
การสร้างให้ตนเอง ตนเองมีส่วนสร้างความมีค่าให้กับตนเองได้ คือ
- มีความเชื่อมั่น
- มีความเก่ง
- มีการบังคับตนเองเป็นนายตนเอง
- เป็นคนได้รับความสำเร็จ
- เป็นคนที่มีความพอดี คือมองคนดี เห็นความดีผู้อื่น และทำตัวเหมือนคนหมู่มากได้
- เป็นคนที่ไม่ขึ้นแก่ใครเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นคนมีอิสระภาพ
การที่ได้รับความมีเกียรติมีค่าจากผู้อื่น
- การได้รับชื่อเสียงชมเชย
- การให้การยอมรับ
- การเห็นความสำคัญ
- การเอาใจใส่
- การยกฐานะ
- ชื่อเสียง
- ความซาบซึ่ง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
1. มาตราฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(กรมวิชาการ. 2545 : ก 149-453 ) ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 มาตราฐานการเรียนรู้และมาตราฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
สาระ
มาตรฐาน
สาระที่ 1
ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 เข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรม ของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
มาตรฐาน ส 1.2 ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
มาตรฐาน ส 1.3 ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงามและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
สาระที่ 2
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่นศรัทธาและธำรง รักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3
เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบและสถาบันทางเศณษฐกิจต่างๆ ความสัมันธ์ของระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
ตาราง 1 (ต่อ )
สาระ
มาตรฐาน
สาระที่ 4
ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมา วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆอย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
สาระที่ 5
ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ปรากฎในระวางที่ซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลภูมิสารนเทศ อันจะนำไปสู่การใช้และการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์วัฒนธรรมและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. สาระการเรียนรู้ ( กรมวิชาการ . 2546 : 14-15 )
สาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 สาระ ศาสนา ศีลธรรมจริยธรรม มาตรฐาน ส 1.3
ประพฤติ ปฏิบัติตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงามและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ตาราง 2
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป .1-3
ป. 4-6
ม .1-3
ม. 4-6
1. รู้และปฏิบัติตนตามคำแนะนำเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองกลุ่มสังคมที่ตนเป็น สมาชิกและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
1. รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองกลุ่มสังคมที่ตนเป็น สมาชิกและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ชมชน และประเทศชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
1. รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน สังคมสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตนเกี่ยวข้อง และประเทศชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
1. รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ อย่างมีเหตุผล โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน สังคมสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย สังคมโลกเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
2. ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือและร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาตามคำแนะนำที่เหมาะสมกับวัย
2. ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือและร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนา ด้วยความเต็มใจ
2. ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือและร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนา ด้วยความเต็มใจและเห็นคุณค่า
2. ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือและร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาและสนับสนนเผยแพร่แนวปฏิบัตืตามหลักธรรมทางศาสนา
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ป .1-3
ป. 4-6
ม .1-3
ม. 4-6
3. ฝึกปฏิบัติการบริหารจิตให้สงบตามคำแนะนำโดยกำหนดรู้กาย วาจา ใจ ให้พร้อมกันได้
3. ฝึกบังคับจิตใจให้ตั้งมั่นได้โดยมีสติสัมปชัญญะในขณะปฏิบัติตามแนวทางของศาสนา
3. มีทักษะในการบริหารจิตและเจริญปัญญา และนำมาใช้ในการคิดที่ถูกวิธีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
3. มีทักษะในการบริหารจิตและเจริญปัญญา นำมาใช้ในการคิดที่ถูกวิธีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตและสังคม
3. วิธีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน จริยธรรม และค่านิยมที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน
กระบวน การเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน (กรมวิชาการ . 2545 : 74 ) ให้บรรลุตามคุณลักษณะของแต่ละกลุ่มเนื้อหาสาระ/รายวิชาตามที่หลักสูตรคาด หวัง ซึ่งฮาร์ดการ์เนอร์ (1987 อ้างใน อารีย์ สัณหฉวี . 2543 : 2) ได้จำแนกความสามารถหรือปัญญา (Intelligence ) ของมนุษย์ทุคนมีทั้งหมด 7 ด้านด้วยกัน คือ
ปัญญาด้านภาษา ( Linguistic Intelligence )
ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ( Logical Mathematical )
ปัญญาด้านมิติ ( Spatial Intelligence )
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ( Body- Kinesthetic Intelligence )
ปัญญาด้านดนตรี ( Musical Intelligence )
ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ ( Intrapersonal Intelligence )
ปัญญาทางด้านตนหรือการเข้าใจตนเอง ( Interpersonal Intelligence )
จะ ปรากฏขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูผู้ สอนจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ปัญญาด้านต่างๆ จะเปล่งประกายในวัฒนธรรมที่ยกย่องคุณ่าและเกิดความงอกงามตามความสามารถ และปัญญาความฉลาดชองบุคคลนั้นๆ สิ่งสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่สร้างสรรค์ของเด็กและ เยาวชนจำเป็นต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้จักตนเองและสามารถประพฤติตนโดยการ รู้จักตน ความสามารถในการรู้จักตนเองทุกด้าน และเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ การรู้จักตนเองตามความเป็นจริง เช่น มีจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความปรารถนา ของตน มีความสามารถที่จะฝึกตนเอง เข้าใจตนเองและนับถือตนเอง
4. แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมและค่านิยมที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน
มีแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาที่สำคัญได้แก่ (กรมวิชาการ.2545 : 78 )
1. การสร้างสรรค์จริยธรรมและค่านิยมของเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการ ยอมรับจากกลุ่มในการทำกิจกรรมใดๆ โดยเฉพาะกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้เด็กทำกิจกรรมในลักษณะกลุ่ม ควรยึดหลัก Creative Cooperatin (โกวิท ประวาลพฤกษ์ : มปป. ) ที่สำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจคนอื่น เข้าใจข้อสรุป เข้าใจทางเลือกอื่นๆ แล้วพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจตนเอง ต้องมีการแลกเปลี่ยนความเข้าใจร่วมกัน มองร่วมกัน ไม่ใช่ฟังเขาข้างเดียว ฟังเราอย่างเดียว ต้องหาจุดต่างซึ่งกันและกันให้ได้ จุดเหมือนไม่ต้องพูดถึง ไม่จำเป็นต้องเขชื่อตามกัน แต่ต้องให้ความเคารพจุดต่างซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการรักษาสิทธิมนุษยชนของประชาธิปไตย ห้ามตัดสินใจแทนคนอื่น ห้ามดีใจที่คนอื่นตัดสินเหมือนเรา ต้องดีใจที่คนอื่นตัดสินไม่เหมือนเรา ให้เขาตัดสินใจได้เองตามสภาพ ต้องพยายามทำความเข้าใจให้กับความแตกต่างให้ได้ ทำไมต้องมองต่างกันเพราะเรายืนคนละจุดต้องชื่นชมความแตกต่าง
2. ครอบครัวเป็นสถาบันแรกของบุคคล เป็นจุดแรกในการสร้างบุคลิกภาพทุกอย่างในตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ วามเชื่อ ค่านิยม และการปฏิบัติต่างๆ โดยเฉพาะหน้าที่ของบิดามารดาในการอบรมสั่งสอนลูกนั้นยังมีความสำคัญมาก ไม่ควรละเลยหน้าที่ ปล่อยปละละเลย
3. การวางแผนและการออกแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอนจะต้องให้เด็กและเยาวชนรับรู้ในคุณค่าของการปฏิบัติทาง จริยธรรมอย่างถ่องแท้ เพื่อให้รู้ถึงเหตุในผลของการระทำ
การส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน ย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ เช่น การสอนและบรรยากาศในชั้นเรียน ความสนใจ ความถนัดของนักเรียน สภาพแวดล้อม และการสนับสนุนของสถาบันครอบครัว นอกจากนั้นนักเรียนควรได้รับความสุขจากการเรียน ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม เสริมสร้างจริยธรรมและค่านิยม และสามารถนำไปใช้ในการชี้วัดจริงได้ ที่สำคัญคือ การรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น ตลอดจนได้รับความเมตา การยอมรับและปฏิสัมพันธ์ในทางที่ดีต่อกันด้วยความจริงใจ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
งานวิจัยต่างประเทศ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ขั้นตอนในการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคก อำเภออุทุมพรพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 21 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคก อำเภออุทุมพรพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Random Sampling ) เพื่อความสะดวกในการทดลอง เพราะเป็นห้องที่ผู้ศึกษาค้นคว้าทำการสอนเอง
เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
เนื้อหา ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม มาตรฐาน ส 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เรื่อง ความขยันหมั่นเพียร
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย
1. บทเรียนเกี่ยวกับบทบาทสมมุติ เรื่อง ความขยันหมั่นเพียร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน ข้อ
แบบประเมินบทเรียนโดยใช้บทบาทสมมุติประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
การสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือ
1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและวิธีสร้างบทเรียนโดยใช้บทบาทสมมติ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและวิธีสร้างบทเรียนโดยใช้บทบาทสมมติ ประกอบการเรียนการสอน จากเอกสาร ตำรา ของ
ขั้น ที่ 2 ศึกษา หลักสูตร คู่มือครู แบบเรียนและเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อคัดเลือกกำหนดสาระการเรียนรู้ของบทเรียน
ขั้น ที่ 3 เลือกสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มาใช้ในการทดลอง และแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนและประเมินผลสาระ ในแต่ละตอนที่ใช้ในบทเรียน
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์หลักสูตรสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้เพื่อสร้างบทเรียนโดยใช้บทบาทสมมติประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้น ที่ 5 นำบทเรียนโดยการแสดงบทบาทสมมติประกอบารเรียนการสอนที่สร้างขึ้นเสนอต่อ อาจารย์ที่ปึกษา และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวับการแสดงโดยใช้บทบาทสมมติประกอบกิจกรรมการเรียนการส อน และสาระการเรียนรู้กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ขั้นที่ 6 นำบทเรียนเกี่ยวกับการแสดงโดยบทบาทสมมติประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนมาปรับ ปรุงแก้ไขตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระและผู้เชี่ยวชาญเสนอ แนะเกี่ยวกับการใช้ภาษาให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย การตั้งคำถามไม่ให้ยาวเกินไป
ขั้น ที่ 7 นำบทเรียนที่แสดงโดยบทบาทสมมติประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องจนสมบุรณ์แล้วไปทดลองหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 เพื่อหาข้อบกพร่อง ด้านความเหมาะสมของการใช้ภาษา เวลา การสื่อความหมาย และความเหมาะสม
*การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
*การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือดำเนินการทดลอง
*การวิเคราะห์ข้อมูล
*สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล