รูปสองอย่าง

รูปมี ๒ อย่าง คือ

๑. รูปบัญญัติ คือ สิ่งที่เรามองเห็นกัน เรียกกันไปต่าง ๆ นา ๆ ทั้งที่ไม่มี ชีวิต จิตใจครอง และ มีชีวิตจิตใจครอง เช่น คนผู้หญิง คนผู้ชาย ก็มีชื่อต่างกัน ออกไป สัตว์ต่าง ๆ ตัวผู้ ตัวเมีย ก็มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ กันไป ต้นไม้แต่ละชนิด ทั้งที่ยืนต้นและล้มลุก ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป รวมถึงพื้นดิน ภูเขา ห้วยน้ำ ลำคลอง เป็นต้น เหล่านี้เป็นรูปโดยบัญญัติ

๒. รูปปรมัตถ คือ รูปที่มีอยู่จริงๆ โดยสภาวะ โดยธรรมชาติ ผู้ที่ได้ศึกษา ได้เรียนรู้ ได้กระทบ ได้สัมผัส จะมีความรู้สึกเหมือนกันหมดเพื่อความเข้าใจง่าย และให้เห็นชัด ระหว่างรูปปรมัตถกับรูปบัญญัติ ขอยก ตัวอย่าง ดังนี้

ถ้า เอาถ่านไฟในเตาซึ่งติดไฟแล้วมาจี้ที่แขนของคน ๕ คน แต่ละคนจะรู้สึก ร้อนเหมือน ๆ กัน ถ้าเป็นคนไทยก็จะพูดว่าร้อน คนจีน คนพม่า คนอินเดีย คน ยุโรป ก็จะเปล่งภาษาออกมาไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายเหมือนกันว่าร้อน ทุกคน มีความรู้สึกว่าร้อน นั่นคือ “จริงที่มีอยู่จริง” ส่วนคำอุทานแต่ละภาษาที่เปล่งออกมา นั้นไม่เหมือนกันนั้นเป็น “บัญญัติ”จริงที่มีอยู่จริง คือ ปรมัตถธรรม และไฟที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นหนึ่งในรูป ปรมัตถ คือ เตโชธาตุ นั่นเองรูปทั้งหมด เมื่อกล่าวโดยหัวข้อแล้วแบ่งได้เป็น ๕ นัย คือ นัยที่ ๑ รูปสมุทเทส เป็นการกล่าวถึงรูปโดยสังเขปหรือโดยย่อ พอให้ ทราบถึงลักษณะของรูปแต่ละรูปตามนัยแห่งปรมัตถธรรม

นัยที่ ๒ รูปวิภาค เป็นการแสดงรูปธรรมว่าจำแนกได้เป็นส่วนๆ เป็นคู่ ๆ

นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐาน เป็นการแสดงถึงสมุฏฐานของรูปปรมัตถแต่ละรูปว่า เกิดจากอะไร

นัยที่ ๔ รูปกลาป เป็นการแสดงถึงรูปปรมัตถที่เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ เป็นมัด

นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ เป็นการแสดงลำดับการเกิดดับ หรือแสดงความ เป็นไปของรูปปรมัตถ ตั้งแต่เกิดจนตาย

รูป คือ ส่วนประกอบของร่างกายคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. นิปผันนรูป มี ๑๘ } รวมเป็น ๒๘

๒. อนิปผันนรูปมี ๑๐รูปทั้ง ๒๘ แบ่งเป็น ๑๑ ประเภทเล็ก เป็นนิปผันนรูป ๗ ประเภท อนิปผันนรูป ๔ ประเภท

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป มี ๔ รูป คือ

๑. ปฐวีธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน

๒. อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุน้ำ

๓. เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุไฟ

๔. วาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุลม

ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป มี ๕ รูป คือ

๑. จักขุปสาทรูป ได้แก่ ปสาทตา

๒. โสตปสาทรูป ได้แก่ ปสาทหู

๓. ฆานปสาทรูป ได้แก่ ปสาทจมูก

๔. ชิวหาปสาทรูป ได้แก่ ปสาทลิ้น

๕. กายปสาทรูป ได้แก่ ปสาทกาย

ประเภทที่ ๓ วิสยรูป หรือโคจรรูป มี ๔ รูป คือนิปผันนรูป

๑. วัณณะรูป หรือ รูปสี (รูปารมณ์)

๒. สัททรูป หรือ รูปเสียง (สัททารมณ์)

๓. คันธรูป หรือ รูปกลิ่น (คันธารมณ์)

๔. รสะรูป หรือ รูปรส (รสารมณ์)

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป มี ๒ รูป คือ

๑. อิตถีภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นหญิง

๒. ปุริสภาวรูป รูปที่แสดงถึงความเป็นชาย

ประเภทที่ ๕ หทยรูป มี ๑ รูป คือ หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้ง อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก

ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป มี ๑ รูป คือชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม

ประเภทที่ ๗ อาหารรูป มี ๑ รูป คืออาหารรูป คือ โอชาที่มีอยู่ในอาหาร

ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป มี ๑ รูป คือปริจเฉทรูป ได้แก่ ช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ

๑. กายวิญญัตติรูป ได้แก่ การไหวกาย

๒. วจีวิญญัตติรูป ได้แก่ การกล่าววาจา

ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป มี ๓ รูป คือ

๑. ลหุตารูป ได้แก่ รูปเบา อนิปผันนรูป

๒. มุทุตารูป ได้แก่ รูปอ่อน

๓. กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปควร

ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป มี ๔ รูป คือ

๑. อุปจยรูป ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นขณะแรก

๒. สันตติรูป ได้แก่ รูปที่เกิดสืบต่อเนื่อง

๓. ชรตารูป ได้แก่ รูปใกล้ดับ

๔. อนิจจตารูป ได้แก่ รูปที่แตกดับ

นอกจากนี้ ยังแบ่งรูปเป็นประเภทใหญ่อีกนัยหนึ่ง คือ รูปประเภทที่ ๑ ประเภท เดียว ซึ่งมีมหาภูตรูป ๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป (ตรงตามชื่อเดิม) ส่วนที่เหลืออีก ๑๐ ประเภท คือ ตั้งแต่ประเภทที่ ๒ ถึง ๑๑ รวมจำนวน ๒๔ รูป ได้ชื่อว่าเป็น อุปาทายรูป

มหาภูตรูป ๔

๑. มหาภูตรูป มี ๔ รูป ๒. ปสาทรูป มี ๕ รูป ๓. โคจรรูป มี ๔ รูป ๔. ภาวรูปมี ๒ รูป ๕. หทยรูปมี ๑ รูปนิปผันนรูป ๑๘ ๖. ชีวิตรูป มี ๑ รูปอุปทายรูป ๒๔

๗. อาหารรูป มี ๑ รูป ๘. ปริจเฉทรูมี ๑ รูป ๙. วิญญัตติรูปมี ๒ รูป

๑๐. วิการรูป มี ๓ รูปอนิปผันนรูป ๑๐ ๑๑. ลักขณรูป มี ๔ รูป

ก. ที่ได้ชื่อว่า มหาภูตรูป เพราะรูปธรรมทั้ง ๔ รูปนี้ เป็นรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นที่อาศัยแก่รูปอื่น ๆ ทั้งหลาย รูปอื่น ๆ ทั้งหมดถ้าไม่มีมหาภูตรูป รองรับก็เกิดขึ้นไม่ได้ มหาภูตรูปมีอยู่ทั่วไปในโลกธาตุทั้งปวง ในวิสุทธิมัคคแสดงว่า ที่ได้ชื่อว่ามหาภูตรูป เพราะ

๑. มหนฺตปาตุภาวโส เป็นธาตุที่ปรากฏอยู่ เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นที่อาศัยแห่งรูปทั้งหลาย

๒. มหาภูตสามญฺญโต มีลักษณะที่หลอกลวง เกิดดับดุจปีศาจ

๓. มหาปริหารโต เป็นสิ่งที่ต้องบริหารมากเลี้ยงดูมาก เพราะย่อยยับ อยู่เสมอ

๔. มหาวิการโต มีอาการเปลี่ยนแปลงมาก เคลื่อนไหวมาก

๕. มหตฺต ภูตตฺตา เป็นของใหญ่และมีจริง ต้องพิจารณามาก

ข. ที่ได้ชื่อว่า อุปาทายรูป เพราะเป็นรูปธรรมที่ต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นแดน เกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูปแล้ว อุปทายรูปก็ไม่สามารถที่จะเกิดตามลำพังได้ เมื่อไม่มีที่ อาศัยเกิด ก็เกิดไม่ได้

ค. นิปผันนรูป ๑๘ รูป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ๕ ชื่อ คือ

๑. นิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง

๒. สภาวรูป คือ รูปที่มีสภาพของตน ปรากฏได้แน่นอน

๓. สลักขณรูป คือ รูปที่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง

๔. รูปรูป คือ เป็นรูปที่ผันแปรแตกดับด้วยความร้อนและความเย็น

๕. สัมมสนรูป คือ เป็นรูปที่ควรแก่การพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะเห็นได้ง่าย

ง. อนิปผันนรูป ๑๐ รูป มีชื่อเรียก ๕ ชื่อ คือ

๑. อนิปผันนรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันน รูป จึงจะมีรูปของตนเกิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิ ผันนรูปก็จะมีขึ้นมาไม่ได้

๒. อสภาวรูป คือ รูปที่ไม่มีสภาพของตนโดยเฉพาะ

๓. อสลักขณรูป คือ รูปที่ไม่มีไตรลักษณ์โดยสภาพของตนเอง

๔. อรูปรูป คือรูปที่ไม่ได้แตกดับเพราะความร้อนและความเย็น

๕. อสัมมสนรูป เป็นรูปที่ไม่ควรใช้ในการพิจารณาไตรลักษณ์ เพราะเห็นได้ยาก

ลักขณาทิจตุกะของรูปแต่ละรูป

รูปธรรม ๑๑ ประเภทเล็ก รวมจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ รูปนั้น แต่ละรูปมี วิเสสลักษณะ คือ ลักขณาทิจตุกะ ดังต่อไปนี้