รูปสองอย่าง01

ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป

มหาภูตรูปมี ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย เฉพาะมหาภูตรูป ๔ นี้ นิยม เรียกกันว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

๑. ปฐวี

คำว่า “ปฐวีธาตุ” หรือ “ปถวีรูป” เป็นรูปปรมัตถที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กกฺขฬ ลกฺขณา มีความแข็ง เป็นลักษณะ

ปติฏฺฐาน รสา มีการทรงอยู่ เป็นกิจ

สมฺปฏิจฺฉน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการรับไว้ เป็นผล

อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ที่ ว่า ปฐวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะนั้น เพราะว่าถ้านำไปเปรียบกับธาตุ อื่นแล้ว ธาตุดินนี้มีสภาพแข็งกว่าธาตุอื่น ในลักขณาทิจตุกะ จึงแสดงว่า ปฐวีมี ความแข็งเป็นลักษณะเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงความอ่อนด้วย แท้จริงความอ่อนก็คือ ความแข็งมีน้อยนั่นเอง นอกจากปฐวีธาตุแล้วรูปอื่น ๆ ไม่สามารถทำให้ความแข็ง หรือความอ่อนปรากฏขึ้นแก่การสัมผัสถูกต้องได้ วัตถุใดมีปฐวีมากก็แข็งมาก วัตถุ ใดมีปฐวีธาตุน้อยก็แข็งน้อย จึงรู้สึกว่าอ่อน

ปฐวีธาตุ ธาตุดิน แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณปฐวี หรือ ปรมตฺถปฐวี คือ ปฐวีธาตุที่เป็นปรมัตถ มีคำอธิบายว่า ปฐวีธาตุเป็นธาตุปรมัตถชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแข็งหรืออ่อน เรียกว่าธาตุดิน และ ธาตุดินในที่นี้หมายถึง ธาตุดินที่เป็นปรมัตถ คือ มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ไม่ใช่ดิน ที่เรามองเห็นอยู่นี้ ดินที่เรามองเห็นกันอยู่นี้เป็นดินโดยสมมติไม่ใช่ดินโดยปรมัตถ ดินโดยปรมัตถที่เรียกกันว่าปฐวีธาตุนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกาย ปสาท เมื่อมีการกระทบเกิดขึ้น ความแข็งหรืออ่อนนั่นแหละ เรียกว่า ปฐวีธาตุ เราได้กระทบกับปฐวีธาตุ

ปฐวี ธาตุ นี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นนั้นเป็นการเห็นธาตุ ต่าง ๆ รวมกันเป็นปรมาณู และหลาย ๆ ปรมาณูรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นชิ้น และปรมาณูที่รวมกันนั้น ๆ ก็ทึบแสง คือ แสงผ่านทะลุไป ไม่ได้จึงปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เรียกสีต่าง ๆ ที่เห็นนั้นว่า “รูปารมณ์” ถ้าปรมาณู ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น ๆ แสงผ่านทะลุได้ ก็จะไม่ปรากฏเห็นเป็นสีต่าง ๆ เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นได้

เพราะ ฉะนั้นปฐวีธาตุหรือปฐวีรูป จึงมองไม่เห็นแต่กระทบได้ และปฐวีธาตุ หรือปฐวีรูปนี้ รู้ได้ด้วยกายปสาทเท่านั้น รู้ด้วยปสาทอื่น ๆ ไม่ได้ การที่เรามองเห็น สิ่งต่าง ๆ แล้วรู้ว่า สิ่งนั้นอ่อน สิ่งนั้นแข็ง เป็นการรู้โดยการคิดนึก ไม่ใช่โดยความ รู้สึก การรู้โดยการคิดนึกนั้น เป็นการรู้โดยอาศัยอดีตเคยกระทำมาแล้ว เคยรู้มา แล้วว่าแข็งหรืออ่อน เท่ากับเอาความจำในอดีตมาตัดสินการเห็นในปัจจุบัน ที่จริง แล้วความแข็ง หรืออ่อนรู้ไม่ได้ด้วยการดู แต่รู้ได้ด้วยการสัมผัสทางกาย เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์

ดัง นั้น ปฐวีธาตุนี้จึงมีลักษณะแข็ง ถ้าวัตถุสิ่งใดมีปฐวีธาตุมากเป็นประธาน แล้ว ก็จะปรากฏเป็นแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ไม้ ตะกั่ว ทอง เป็นต้น และถ้าวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีปฐวีธาตุเป็นส่วนน้อย ความแข็งก็จะปรากฏน้อย เมื่อสัมผัสก็จะรู้สึก ว่าอ่อน เพราะความแข็งปรากฏน้อยจึงรู้สึกว่าอ่อน

ฉะนั้น ธรรมชาติที่กระทบด้วยกายปสาทแล้ว มีความรู้สึกว่า “แข็งหรืออ่อน” จัดเป็นปฐวีธาตุทั้งสิ้น เพราะนอกจากปฐวีธาตุแล้ว รูปอื่น ๆ ก็ไม่สามารถทำให้เกิด ความรู้สึกแข็งหรืออ่อนได้

อนึ่ง ปฐวีธาตุนี้ เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปอื่น ๆ เหมือนแผ่นดินกับสิ่งอื่น ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ถ้าไม่มีแผ่นดินเสียแล้ว สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ปฐวีธาตุก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีปฐวีธาตุเสียแล้ว รูปร่างสัณฐาน สีสรรวรรณะ เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ปรากฏขึ้นไม่ได้

ปฐวีธาตุ อาศัยธาตุที่เหลืออีก ๓ เป็นปัจจัย คือ

๑. มีอาโปธาตุเกาะกุม

๒. มีเตโชธาตุตามรักษา

๓. มีวาโยธาตุกระพือพัด

ข. สสฺมภารปฐวี คือ สัมภาระของดิน หรือสุตฺตันตปฐวี หรือสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่รวมเรียกว่าดิน กล่าวตามนัยแห่งพระสูตรแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ

(๑) อชฺฌตฺติกปฐวี ธาตุดินภายใน หมายถึงธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบ ของร่างกายของเราและสัตว์ทั้งหลาย โดยเอาอาการ ๓๒ มาสงเคราะห์เป็นธาตุดิน ๒๐ ได้แก่

เกสา - ผม มํสํ - เนื้อ หทยํ - หัวใจ อนฺตํ - ไส้ใหญ่

โลมา - ขน นหารู - เอ็น ยกนํ - ตับ อนฺตคุณํ - ไส้น้อย

นขา - เล็บ อฏฺฐิ - กระดูก กิโลมกํ -พังผืด อุทฺริยํ-อาหารใหม่

ทนฺตา - ฟัน อฏฺฐิมิญฺชํ - เยื่อในกระดูก ปิหกํ- ไต กรีสํ - อาหารเก่า

ตโจ - หนัง วกฺกํ - ม้าม ปปฺผาสํ - ปอด มตฺถลุงคํ-มันสมอง

(๒) พาหิรปฐวี ธาตุดินภายนอก หมายถึง ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ มีอยู่มากมายเหลือที่จะคณานับได้ ยกตัวอย่าง เช่น ก้อนดิน พื้นดิน แผ่นดิน ก้อนหิน กรวด ทราย โลหะต่าง ๆ แก้วแหวน เงินทอง ตะกั่ว เป็นต้น รวมไปถึงดินที่เป็นอารมณ์ของกสิณ ก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ หรืออารมณปฐวี

ค. กสิณปฐวี หรือ อารมฺมณปฐวี คือ ดินที่เป็นนิมิตทั้งปวง ได้แก่ ดินของ บริกรรมนิมิต ดินของอุคคหนิมิต ดินของปฏิภาคนิมิต

ง. ปกติปฐวี หรือ สมฺมติปฐวี คือ ดินตามปกติที่สมมติเรียกกันว่าดิน ได้แก่ พื้นแผ่นดินตามธรรมดา ที่ทำเรือกสวนไร่นา เป็นต้น

๒. อาโป

คำว่า อาโปธาตุ หรืออาโปรูป เป็นรูปปรมัตถที่รู้ได้ด้วยใจ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือ เกาะกุม ซึ่งมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปคฺฆรณ ลกฺขณา มีการไหล เป็นลักษณะ

พฺยูหน รสา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ

สงฺคห ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกัน เป็นผล ปรากฏ

อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเกาะกุมก็ดี การไหลก็ดี ที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เรียก ว่า อาโปธาตุ

อาโปธาตุ นี้ มีจำนวนพอประมาณในวัตถุใด ก็ทำหน้าที่เกาะกุมอย่างเหนียว แน่น วัตถุนั้นจึงแข็ง ถ้าวัตถุใดมีอาโปธาตุมากก็เกาะกุมไม่เหนียวแน่น จึงทำให้ วัตถุนั้นอ่อนลงและเหลวมากขึ้น หากว่าในวัตถุใดมีอาโปธาตุเป็นจำนวนมากแล้ว การเกาะกุมก็น้อยลง ทำให้วัตถุนั้นเหลวมากจนถึงกับไหลไปได้

เมื่ออาโปธาตุถูกความร้อน ปัคฆรณลักษณะ หรือทรวภาวะ ปรากฏ คือ ทำให้ไหล แต่ถ้าอาโปธาตุถูกความเย็น อาพันธนลักษณะ ปรากฏ คือทำให้เกาะกุม เช่น เหล็กหรือขี้ผึ้งถูกความร้อนก็เหลวจนไหลได้ เมื่อเย็นแล้วกลับแข็งตัวตามเดิม หรือน้ำแข็ง ถ้าถูกความร้อนก็ละลายและไหล เมื่อให้ถูกเย็นจัด ก็จะจับกันเป็นก้อน น้ำแข็งอีก

อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณอาโป หรือ ปรมตฺถอาโป ได้แก่ ลักษณะไหลและเกาะกุม อันมี อยู่ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณและในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ซึ่งมี ๒ ลักษณะ คือ

(๑) ปคฺฆรณ ลกฺขณ หรือ ทรวภาว มีลักษณะ หรือสภาพที่ไหล

(๒) อาพนฺธน ลกฺขณ มีลักษณะเกาะกุม

ปรมัตถอาโป เป็นอาโปธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธาตุน้ำ และธาตุน้ำในที่นี้ หมาย ถึงธาตุน้ำที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหล หรือเกาะกุม ไม่ใช่น้ำที่มองเห็นหรือ ใช้ดื่มกันอยู่นี้ น้ำที่ใช้ดื่มใช้สอยกันอยู่นี้ เป็นน้ำโดยสมมติ เป็นสสัมภารอาโป หรือสมมติอาโป น้ำโดยปรมัตถที่เรียกว่าธาตุน้ำนั้น จะต้องหมายถึงลักษณะที่ ปรากฏรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตา หรือสัมผัสได้ด้วยกายปสาท เพียงรู้ ได้ด้วยใจเท่านั้น

ธรรมชาติที่รักษาสหชาติรูปได้อย่างมั่นคง ไม่ให้กระจัดกระจายไป ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า อาโป หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า

ธรรมชาติที่แผ่ซึมซาบทั่วไปในรูปที่เกิดร่วมกับตน แล้วตั้งอยู่กับรูปเหล่านั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป

อาโปธาตุ นี้ มองเห็นไม่ได้ สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ส่วนน้ำที่เรามองเห็นกัน ใช้กันอยู่นี้ เป็นการเห็นธาตุต่าง ๆ รวมกันอยู่ในลักษณะอ่อนหรือเหลว เพราะมี ปฐวีธาตุน้อย มีอาโปธาตุมาก ไม่ได้เห็นอาโปธาตุโดยส่วนเดียว ความปรากฏเป็น ลักษณะอ่อนเหลวของน้ำที่เราใช้ดื่มกันอยู่นี้ เนื่องด้วยอาโปธาตุนั้น

มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง

มีเตโชธาตุ ตามรักษา

มีวาโยธาตุ กระพือพัด

เมื่อ ใดที่อาโปธาตุมาก มีปฐวีธาตุน้อย ปรมาณูต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่นี้จะไหล ไปได้ ที่เราพูดกันว่าน้ำไหล ๆ นั้น แท้จริงเป็นการไหลของปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นทำหน้าที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ เพราะปฐวีธาตุปรากฏน้อย จึงปรากฏอ่อนเหลว และไหลไปได้ ธรรมชาติที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ แล้วไหลไปได้ นั่นเอง ที่เป็นอาโปธาตุ

อาโปธาตุนั้นมีอยู่ทั่วไปในวัตถุต่าง ๆ ที่แข็งและเหลวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ข. สสมฺภารอาโป ได้แก่ สสัมภาระธาตุต่าง ๆ ที่ประชุมรวมกันอยู่สมมติ เรียกว่า “น้ำ” หรือธาตุน้ำ ตามนัยแห่งพระสูตร แบ่งออกเป็น ๒ อย่างดังนี้

(๑) อชฺฌตฺติกอาโป ธาตุ น้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบภายใน ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย โดยยกเอาอาการ ๓๒ ที่มีลักษณะเหลว สงเคราะห์เป็น ธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ

ปิตฺตํ - น้ำดี เสมฺหํ - น้ำเสมหะ

ปุพฺโพ - น้ำหนอง โลหิตํ - น้ำเลือด

เสโท - น้ำเหงื่อ เมโท - น้ำมันข้น

อสฺสุ - น้ำตา วสา - น้ำมันเหลว

เขโฬ - น้ำลาย สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก

ลสิกา - ไขข้อ มุตฺตํ - น้ำมูตร

(๒) พาหิรอาโป ธาตุน้ำภายนอก หมายถึง ธาตุน้ำอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่นน้ำจากผลไม้ น้ำจากเปลือกไม้ น้ำจากลำต้นไม้ น้ำจาก ดอกไม้ เป็นต้น

ค. กสิณอาโป หรือ อารมฺมณอาโป ได้แก่น้ำที่นำมาใช้เป็นอารมณ์ในการ เพ่งกสิณ

ง. ปกติอาโป หรือ สมฺมติอาโป ได้แก่ น้ำที่สมมติเรียกกันว่า “น้ำ” ได้แก่ น้ำที่ใช้ดื่ม ใช้อาบ น้ำในคลอง น้ำในแม่น้ำ เป็นต้น

ทั้ง หมดนี้รวมเรียกว่า สสัมภารอาโป สำหรับปรมัตถอาโปธาตุนั้นเป็นรูปธาตุ ทำหน้าที่สมาน เกาะกุมรูปทั้งหลายอันเกิดร่วมกับตน ทำให้รูปต่าง ๆ รวมกันอยู่ได้ ไม่ให้กระจัดกระจายไป

๓. เตโช

คำว่า เตโชธาตุ หรือ เตโชรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อุณฺหตฺต ลกฺขณา มีความอบอุ่น เป็นลักษณะ

ปริปาจน รสา ทำให้รูปเกิดร่วม สุกงอม เป็นกิจ

มทฺทวานุปฺปาทน ปจฺจุปฏฺฐานา ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วย ให้อ่อนนิ่ม เป็นผลปรากฏ

อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการสุกงอมก็ดีความอบอุ่นก็ดีที่มีในกายนั้นเรียก เตโชธาตุ

ที่ ว่า เตโชธาตุ มีความร้อน (อุณฺห) เป็นลักษณะนั้น หมายถึงความเย็น(สีต) ด้วย เพราะที่ว่าเย็นก็คือความร้อนมีน้อยนั่นเอง เช่น ใช้คำว่า อุณฺหเตโช หมายถึง ความร้อนและใช้คำว่า สีหเตโช หมายถึงความเย็น ซึ่งมีคำว่า เตโช อยู่ด้วยทั้งคู่

เตโชธาตุ ธาตุไฟ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณเตโช หรือ ปรมตฺถเตโช ได้แก่ ลักษณะของธาตุไฟที่มีสภาวะยืน ให้พิสูจน์ด้วยการสัมผัสถูกต้องได้ มี ๒ ลักษณะ คือ

(๑) อุณหเตโช มีลักษณะร้อน

(๒) สีหเตโช มีลักษณะเย็น คือร้อนน้อย

ปรมัต ถเตโช เป็นเตโชธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่าธาตุไฟและธาตุไฟในที่นี้ หมายถึง ธาตุไฟที่เป็นปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะร้อนหรือเย็น ไม่ใช่ไฟที่มองเห็น หรือใช้หุงต้มกัน อยู่ขณะนี้ และไฟที่เรามองเห็นกันอยู่นี้ เป็นไฟโดยสมมติ ไม่ใช่ไฟโดยปรมัตถ ธาตุไฟโดยปรมัตถนั้น ต้องหมายถึงลักษณะที่ปรากฏทางกายปสาท เมื่อมีการ กระทบกันเกิดขึ้น ความร้อนหรือเย็นนั่นแหละ คือธาตุไฟ

เตโชธาตุนี้มองเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ การที่เรามองเห็นได้นั้น เป็นการเห็น ธาตุต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นปรมาณู แล้วปรากฏเป็นความวิโรจน์ด้วยอำนาจของ เตโชธาตุ จึงปรากฏเห็นเป็นเปลวไฟลุกขึ้นมา เปลวไฟที่เห็นนั้นไม่ใช่ธาตุไฟ แต่ เป็นรูปารมณ์หรือวรรณะรูป คือรูปที่เห็นเป็นสีนั่นเอง

ดัง นั้นความปรากฏของเตโชธาตุ จึงหมายถึงไออุ่น หรือไอเย็นที่สามารถรู้ได้ ด้วยปสาทกาย และเตโชธาตุนี้มีหน้าที่เผา ทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก และทำให้ละเอียด นุ่มนวล อาหารต่าง ๆ จะสุกได้นั้นต้องอาศัยความร้อน หรือไออุ่นบางอย่างก็อาศัย ไอเย็น คือ ธรรมชาติใดที่ทำให้สุก ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เตโช

การเกิดขึ้นของเตโชธาตุ อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นปัจจัย คือ

๑. มีปฐวีธาตุ เป็นที่ตั้ง

๒. มีอาโปธาตุ เกาะกุม

๓. มีวาโยธาตุ กระพือพัด

ข. สสมฺภารเตโช คือ สัมภาระของไฟ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือ

(๑) อชฺฌตฺติกเตโช ธาตุไฟภายใน หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณ มีอยู่ ๔ คือ

อุสมาเตโช ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นพอสบาย เป็นอุณหเตโช มีเป็น ประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย

ปาจกเตโช ไฟที่ย่อยอาหาร (ที่เราเรียกว่า ไฟธาตุ) เป็นอุณหเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ที่ลิ้นจนถึงทวารหนัก

ชิรณเตโช ไฟที่บ่มให้ร่างกายทรุดโทรมเหี่ยวแห้ง เป็นทั้ง อุณหเตโช และสีตเตโช มีเป็นประจำ และมีอยู่ทั่วร่างกาย

สนฺตาปนเตโช ไฟที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วย เป็นอุณหเตโช มีจรมา เป็นครั้งคราว (อาคันตุกะ)

(๒) พาหิรเตโช ธาตุไฟภายนอก หมายถึงธาตุไฟอันเป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ มีอยู่มากมาย เช่น ไฟฟืน ไฟเผาหญ้า ไฟแก๊ส ฯลฯ เป็นต้น

ค. กสิณเตโช หรือ อารมฺมณเตโช คือ ไฟที่เป็นนิมิตทั้งปวง มีในบริกรรม นิมิต อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต

ง. ปกติเตโช หรือ สมฺมติเตโช คือไฟตามธรรมดาที่ใช้ในการหุงต้มเป็นต้น

อนึ่ง เตโชนี้แม้จะเป็นรูปธาตุที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของธาตุอื่น ๆ ก็ตาม แต่ว่ามีประสิทธิภาพเหนือธาตุอื่น ๆ ตรงที่ว่าสัตว์ทั้งหลายอายุจะยืนหรือไม่ ก็ เพราะเตโชธาตุนี่แหละ เช่น อุสมาเตโชให้ความอบอุ่นไม่พอ ปาจกเตโชไม่พอย่อย อาหาร เพียงเท่านี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้แล้ว

อัชฌัตติกเตโช คือเตโชธาตุภายใน อีกนัยหนึ่งแสดงว่ามี ๕ อย่างดังจะแสดง โดยย่อ ต่อไปนี้

เตโชธาตุ กิจ ลักษณะ ฐาน

๑. อุสมาเตโช อบอุ่น อุณหะ ทั่วกาย

๒. ปาจกเตโช ย่อยอาหาร อุณหะ จากลิ้นถึงทวารหนัก

๓. ชิรณเตโช บ่ม อุณหะและสีตะ ทั่วกาย

๔. สนฺตาปนเตโช ร้อน อุณหะ อาคันตุกะ

๕. ทาหนเตโช กระวนกระวาย อุณหะและสีตะ อาคันตุกะ

เป็น การแสดงเตโชธาตุที่ทำให้ร้อนเป็นไข้ได้ป่วยให้ละเอียดออกไปว่า เป็นไข้ ได้ป่วยชนิดที่ร้อนอย่างเดียวนั้นประเภทหนึ่ง และเป็นชนิดที่สะบัดร้อนสะบัดหนาว จนถึงกับกระวนกระวายอีกประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง

เตโช ธาตุทั้ง ๕ นี้ มีประจำอยู่ในร่างกายที่มีวิญญาณก็มี เป็นเตโชธาตุที่จะมา ก็มี เช่น อุสมาเตโช และปาจกเตโช เป็นธาตุไฟที่มีอยู่ประจำในร่างกายที่มีวิญญาณ ส่วนสันตาปนเตโช ทาหนเตโช ไม่มีอยู่ประจำ เป็นอาคันตุกะจรมา ที่ปรากฏว่า ร้อนจัดหรือกระวนกระวาย ก็เพราะอุสมาเตโช เกิดมีอาการผิดปกติด้วยอำนาจกรรม บ้าง จิตบ้าง อุตุบ้าง และอาหารบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดวิปริตผิดปกติไป เช่น คนที่เป็นไข้ มีอาการตัวร้อนกว่าคนที่ไม่เป็นไข้ บางคนเป็นไข้มีความร้อนสูงมาก ถึงกับเพ้อคลั่ง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก อุสมาเตโช แปรสภาพเป็นสันตาปนเตโช นั่นเอง จึงมีอาการตัวร้อนจัด และสันตาปนเตโชแปรสภาพเป็นทาหนเตโช จึงมีอาการร้อน จัดจนเพ้อคลั่ง บางคนร้อนจัดจนร้องครวญคราง ร้องให้คนช่วย แต่ตัวผู้ร้องก็ไม่รู้ ปรอทวัดก็ไม่ขึ้น แต่มีอาการร้องว่าร้อนจนคลุ้มคลั่ง ทั้งนี้ก็เพราะร้อนด้วยอำนาจ กรรมนั่นเอง ส่วนความแก่ชราของคนและสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏนั้น ก็เพราะอุสมา เตโชที่มีอยู่ประจำในร่างกายคนและสัตว์นั่นเอง เปลี่ยนสภาพเป็นชิรณเตโช เผาให้ ปรากฏอาการทรุดโทรม แก่ชรา ผมหงอก ฟันหัก ตาฟาง เนื้อหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น

๔. วาโย

คำว่าวาโยธาตุ หรือวาโยรูป เป็นรูปปรมัตถ ซึ่งมีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิตฺถมฺภน ลกฺขณา มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ

สมุทีรณ รสา มีการไหว เป็นกิจ

อภินิหาร ปจฺจุปฏฺฐานา มีการเคลื่อนย้าย เป็นผล

อวเสสธาตุตฺตย ปทฏฺฐานา มีธาตุทั้ ๓ ที่เหลือ เป็นเหตุใกล้

ธรรมชาติที่ทรงภาวะการเคร่งตึงก็ดี การไหวก็ดีที่มีอยู่ในกายนั้น เรียกว่า วาโยธาตุ

วาโยธาตุ ธาตุลม แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ

ก. ลกฺขณาวาโย หรือ ปรมตฺถวาโย ได้แก่ลักษณะของธาตุลมที่มีสภาวะให้ พิสูจน์รู้ได้ ๒ ลักษณะ คือ

(๑) วิตฺถมฺภน ลกฺขณ มีลักษณะเคร่งตึง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

(๒) สมุทีรณ ลกฺขณ มีลักษณะไหวโคลง ซึ่งมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

วาโยธาตุ ตามนัยแห่งปรมัตถนั้น หมายถึง ธรรมชาติที่มีลักษณะ “ไหวหรือ เคร่งตึง” ธาตุลมที่มีลักษณะไหว เรียกว่า “สมุทีรณวาโย” และธาตุลมที่มีลักษณะ เคร่งตึง เรียกว่า “วิตฺถมฺภนวาโย”

ธรรมชาติ ของวิตถัมภนวาโยนี้ ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ตั้งมั่นไม่ คลอนแคลนเคลื่อนไหวได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้ามีวิตถัมภนวาโยปรากฏแล้ว บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกตึง ปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย หรือเมื่อเวลาที่เราเกร็งแขน ขา หรือ เพ่งตาอยู่นานๆ โดยไม่กระพริบตา ก็จะปรากฏเป็นอาการเคร่งตึง นั่นคือ วิตถัมภน วาโยธาตุปรากฏ

ในร่างกายของคนและสัตว์ ถ้ามีวิตถัมภนวาโยมากมีสมุทีรณวาโยน้อยร่างกาย หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเคร่งตึง ถ้ามีสมุทีรณวาโยมากวิตถัมภนวาโยน้อย ร่างกายหรือสัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเคลื่อนไหวหรือไหวไปได้

ข. สสมฺภารวาโย คือ สัมภาระของลม หรือสสัมภาระต่าง ๆ ที่ประชุมกันอยู่ รวมเรียกว่า ลม แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ

(๑) อชฺฌตฺติกวาโย ธาตุลมภายใน หมายถึงธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบของ ร่างกายที่มีวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ ๖ อย่างคือ

อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การเรอ การหาว การไอ การจาม เป็นต้น

อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องต่ำ เช่น การผายลม การเบ่ง (ลมเบ่ง) เป็นต้น

กุจฺฉิสยวาโย หรือ กุจฺฉิฏฺฐวาโย ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวดท้อง เสียดท้อง เป็นต้น

โกฏฺฐาสยวาโย ลมที่อยู่ในลำไส้ เช่น ท้องลั่น ท้องร้อง เป็นต้น

องฺคมงฺคานุสาริวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้ไหวร่างกายได้

อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก

(๒) พาหิรวาโย ธาตุลมภายนอก หมายถึง ธาตุลมอันเป็นส่วนประกอบ ที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ลมพายุ ลมเหนือ ลมหนาว เป็นต้น

ความปรากฏของธาตุลมซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ นั้น อาศัยธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือ ให้ปรากฏ และเป็นไปดังนี้

๑. มีปฐวีธาตุเป็นที่ตั้ง

๒. มีอาโปธาตุเกาะกุม

๓. มีเตโชธาตุ ทำให้อุ่นหรือเย็น

ค. กสิณวาโย หรือ อารมฺมณวาโย คือ ลมที่เป็นกสิณซึ่งเป็นอารมณ์ของ จิตแห่งพระโยคาวจร ผู้ทำฌานด้วยการที่เอาวาโยธาตุที่ทำให้ใบไม้ไหว ที่ทำให้ เส้นผมไหว ที่ทำให้ก้อนเมฆลอยไป เป็นนิมิต ตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต จนถึงปฏิภาคนิมิต

ง. ปกติวาโย หรือ สมฺมติวาโย คือ ลมธรรมดาที่พัดผ่านไปมานี่แหละ

อนึ่ง วาโยธาตุนี้ เป็นรูปธาตุที่มีความสำคัญมากแก่สัตว์ที่มีวิญญาณ เพราะ ถ้าไม่มีลมหายใจก็ตาย และธาตุลมนี่แหละที่ทำให้ไหววาจาและไหวกายได้ ไหววาจา ไหวกายดีมีประโยชน์ ก็เป็นบุญเป็นกุสล ให้ผลเป็นสุข ไหววาจาไหวกายชั่ว มีโทษ ก็เป็นบาปเป็นอกุสลให้ผลเป็นทุกข์

ธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย นี้เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน กล่าวคือไม่ว่าจะปรากฏ ณ ที่ ใด จะต้องปรากฏ ณ ที่นั้นครบทั้งคณะ คือทั้ง ๔ ธาตุเสมอ เป็นนิจและแน่นอน ต่างกันแต่เพียงว่า อาจจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งยิ่งและหย่อนกว่ากันเท่านั้น จะขาดธาตุ ใด ธาตุหนึ่งใน ๔ ธาตุนี้ไปแม้แต่เพียงธาตุเดียว เป็นไม่มีเลย

ธาตุดินที่แข็ง ย่อมจะอยู่กับน้ำที่เกาะกุมอยู่กับไฟที่เย็นและอยู่กับลมที่เคร่งตึง

ส่วนธาตุดินที่อ่อน ย่อมจะอยู่กับน้ำที่ไหล อยู่กับไฟที่ร้อนและอยู่กับลมที่ไหว