รูปสองอย่าง09

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป

วิญญัตติรูป คือรูปที่แสดงให้ผู้อื่นรู้ความหมายหรือรู้ความประสงค์ วิญญัตติ รูปจะเคลื่อนไหวต้องมีจิตสั่งงานให้เคลื่อนไหว ทางกาย ทางวาจา นั่งนอน ยืนเดิน พูดเสียงดัง พูดค่อย พูดเพราะ พูดไม่เพราะ ก็อยู่ที่วิญญัตติรูป โดยจิตสั่งรูปชุดนี้ ให้ทำงาน

รูป ใดทำให้ผู้อื่นรู้ความประสงค์ รูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป ชนทั้งหลายทำให้รู้ จิตใจซึ่งกันและกันได้โดยอาศัยรูปนั้น ฉะนั้นรูปนั้นชื่อว่า วิญญัตติรูป การแสดง ออกซึ่งวิญญัตติรูปนี้ เรียกกันอย่างสามัญว่า การไหวกาย และ การไหววาจา (การกล่าววาจา)

วิญญัตติรูป มี ๒ รูป คือ

(๑) กายวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูป ให้รู้ความประสงค์ทางกาย

(๒) วจีวิญญัตติรูป คือ การเคลื่อนไหวของรูปทางวาจา ให้รู้ความประสงค์ ทางวาจา

๒๐. กายวิญญัตติรูป

กายวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ

(๑) โพธนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย จงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น โบกมือ กวักมือเรียก เป็นต้น

(๒) ปวตฺตนกายวิญฺญตฺติ ได้แก่ การไหวกาย โดยไม่ได้จงใจให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หรือวิ่ง เป็นต้น แม้ว่าจะ ไม่ได้เจาะจงให้เป็นความหมายแต่ผู้อื่นก็รู้ได้ว่า เรานั่ง นอน ยืน เดิน หรือวิ่ง

กายวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ

อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ

กายวิปฺผนฺทนเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไหวกาย เป็นผล

จิตฺตสมุฏฺฐานวาโยธาตุ ปทฏฺฐานํ มีวาโยธาตุของจิตตสมุฏฐาน เป็นเหตุใกล้

๒๑. วจีวิญญัตติรูป

วจีวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ

(๑) โพธนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น ตะโกนเรียก การเรียกชื่อกัน การบอกเล่า การสนทนากัน เป็นต้น

(๒) ปวตฺตนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยไม่ได้จงใจจะให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด เช่น เปล่งเสียงออกมาเวลาตกใจ การไอ การจาม เป็นต้น แม้ว่าจะไม่เจาะจงให้ใครรู้ ไม่เจาะจงให้เป็นความหมาย แต่ผู้อื่นก็รู้ว่าเป็นเสียงตกใจ เสียงไอ เสียงจาม