รูปสองอย่าง10

ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป

วิการรูป คือรูปที่แสดงอาการพิเศษของนิปผันนรูปให้ปรากฏมี ๓ รูป ได้แก่ รูปัสสลหุตา ๑ รูปัสสมุทุตา ๑ และ รูปัสสกัมมัญญตา ๑ แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ลหุตารูป(ความเบาของรูป), มุทุตารูป(ความอ่อนของรูป), กัมมัญญตารูป(การควร ของรูป)

วิเสสา อาการา วิการาฯ แปลว่า อาการพิเศษของรูป เรียกว่า วิการรูป

วิการรูปนี้ บางทีก็นับว่ามี ๕ รูป โดยนับกายวิญญัตติรูป และวจีวิญญัตติรูป รวมเข้าไปอีกด้วย

๒๒. ลหุตารูป

ลหุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความเบาของนิปผันนรูป หรืออาการเบาของนิปผันนรูป

ลหุตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อทนฺธตา ลกฺขณา มีความเบา เป็นลักษณะ

รูปานํ ครุภาววิโนทน รสา มีการทำลายความหนักของรูป เป็นกิจ

ลหุปริวตฺติตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทำให้ว่องไว เป็นผล

ลหุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่เบา เป็นเหตุใกล้

๒๓. มุทุตารูป

มุทุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความอ่อนของนิปผันนรูป หรือ อาการอ่อนของ นิปผันนรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อถทฺธตา ลกฺขณา มีความอ่อน เป็นลักษณะ

รูปานํ ตทฺธวิโนทน รสา มีการทำลายความกระด้างของรูป เป็นกิจ

สพฺพกริยาสุ อวิโรธิตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ขัดแย้งต่อกิจทั่วไป เป็นผล

มุทุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่อ่อน เป็นเหตุใกล้

๒๔. กัมมัญญตารูป

กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความควรของนิปผันนรูป หรืออาการควร ของนิปผันนรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กมฺมญฺญภาว ลกฺขณา มีการควร เป็นลักษณะ

อกมฺมญฺญตา วิโนทน รสา มีการทำลายการไม่ควร เป็นกิจ

อทุพฺพลภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทรงไว้ซึ่งพลัง เป็นผล

กมฺมญฺญรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่ควร เป็นเหตุใกล้

วิการ รูปทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้ว มีความสัมพันธ์กันกับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้ ไม่ สัมพันธ์กับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้ คือ เกิดพร้อมกันก็ได้ ไม่เกิดพร้อมกันก็ได้

ถ้า วิญญัตติรูป เกิดพร้อมกับวิการรูป วิญญัตติรูปนั้นก็จะมีความเบา ความ อ่อน ความควรแก่การงานก็จะเกิดขึ้นทันที กล่าวคือ การเคลื่อนไหวทางร่างกายก็ จะรู้สึกเบา อ่อนโยน คล่องแคล่ว ควรแก่การงาน การเคลื่อนไหวทางวาจา เช่น การพูด การบรรยาย ก็จะมีความเบา ความอ่อนโยน ความคล่องแคล่ว ควรแก่ การงานเกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้น วิการรูปจึงมี ๓ หรือ ๕ คือ

๑. ลหุตารูป ๒. มุทุตารูป ๓. กัมมัญญตารูป ๔. วิการรูปที่เกิด พร้อมกับกายวิญญัตติ ๕. วิการรูปที่เกิดพร้อมกับวจีวิญญัตติ

และ ทั้งวิญญัตติรูป ๒ กับวิการรูป ๓ ก็อาศัยนิปผันนรูป หรือเป็นอาการ ของนิปผันนรูปนั่นเอง คือถ้าไม่มีนิปผันนรูป วิญญัตติรูป และวิการรูปก็มีไม่ได้

วิการ รูป รูปที่แสดงอาการ คือ ความเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษรวม ๓ รูปนี้ ต้องเกิดมีขึ้นแก่สิ่งมีชีวิตเท่านั้น สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิการรูป วิการรูปนี้ เมื่อเกิดก็ เกิดร่วมกันพร้อมกันทั้ง ๓ รูป แต่อาจจะยิ่งหรือหย่อนกว่ากันได้